Newsเมื่อการอนุรักษ์ ไม่ใช่แค่การ [ปกป้อง] แต่คือการพัฒนามรดกวัฒนธรรมให้กลับคืนชีวิตขึ้นใหม่ และดึงดูดให้คนรุ่นใหม่ในสังคมสนใจประวัติศาสตร์

เมื่อการอนุรักษ์ ไม่ใช่แค่การ [ปกป้อง] แต่คือการพัฒนามรดกวัฒนธรรมให้กลับคืนชีวิตขึ้นใหม่ และดึงดูดให้คนรุ่นใหม่ในสังคมสนใจประวัติศาสตร์

“จีนกำลังเปลี่ยนจากประเทศที่มีมรดกทางวัฒนธรรมมากที่สุดไปเป็นประเทศที่แข็งแกร่งและมีศักยภาพในการปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมได้ดีขึ้น ปัจจุบัน เราใช้คำว่า ‘อนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม’ แทนคำว่า ‘ปกป้องคุ้มครองโบราณวัตถุทางวัฒนธรรม’ ซึ่งไม่ใช่การเปลี่ยนคำธรรมดาๆ แต่เป็นการสะท้อนถึงการสืบทอดและการพัฒนาของระบบการอนุรักษ์” ชาน จี้เซียง (Shan Jixiang) อดีตภัณฑารักษ์พิพิธภัณฑ์พระราชวัง และปัจจุบันเป็นหัวหน้าสถาบันมรดกทางวัฒนธรรมจีน กล่าว 

 

โดยเขาได้ออกเดินทางสำรวจแหล่งมรดกโลกทั่วประเทศจีนเป็นปีที่ 3 ติดต่อกันในรายการโทรทัศน์ ‘The Shape of Culture’ ตลอด 3 ฤดูกาลของรายการ ชานได้ไปเยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวมรดกโลกทางวัฒนธรรมหลายแห่ง เช่น กำแพงเมืองจีน, จิงเต๋อเจิ้น เมืองหลวงแห่งเครื่องปั้นดินเผา และหยางโจว เมืองโบราณเก่าแก่ของจีน

 

จากการที่ได้ใกล้ชิดกับสมบัติโบราณและพูดคุยกับผู้สืบทอดมรดก ตลอดจนผู้ดูแลสถานที่มรดกทางวัฒนธรรมเหล่านี้ ชานรู้สึกทึ่งกับความมีชีวิตชีวาของวัฒนธรรมจีนแบบดั้งเดิม 

 

โดยเขาตั้งข้อสังเกตว่าเหตุผลสำคัญประการหนึ่งในการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลกคือ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคมสมัยใหม่ด้วยการทำให้คนรุ่นใหม่สนใจในประวัติศาสตร์ 

 

ตั้งแต่ปี 2004-2019 ด้วยความพยายามของจีนเอง และความร่วมมือระหว่างประเทศ ปัจจุบันจีนมีแหล่งมรดกโลก 56 แห่ง เช่น เมืองประวัติศาสตร์มาเก๊า และซากปรักหักพังอินซวีในมณฑลเหอหนาน ทำให้จีนเป็นประเทศที่มีแหล่งมรดกโลกมากที่สุดในโลก ตัวอย่างเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงแนวทางแก้ไขและภูมิปัญญาของจีนในการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลก” ชาน กล่าวกับ Global Times

 

การทำให้โบราณวัตถุที่เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ มรดกทางวัฒนธรรมที่จัดแสดงทั่วผืนแผ่นดินอันกว้างใหญ่ และข้อความที่เขียนในหนังสือโบราณมีชีวิตขึ้นมา ถือเป็นภารกิจที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งของสถาบันวัฒนธรรมจีน

 

ชาน และผู้ผลิตรายการคนอื่นๆ ได้คิดหาวิธีที่จะนำมรดกโบราณของประเทศมาใกล้ชิดกับคนหนุ่มสาวมากขึ้น โดยที่ย่านวัฒนธรรมซานฟางฉีเซียง ชานและพิธีกรรุ่นน้องอีกสามคนได้เข้าไปสัมผัสชีวิตของชาวท้องถิ่นอย่างใกล้ชิด และสัมผัสกับวัฒนธรรมทางธุรกิจในฝูเจี้ยนที่สืบทอดกันมาหลายศตวรรษ 

 

ที่กำแพงเมืองจีนในปักกิ่ง พวกเขาได้พูดคุยกับนักวิจัย อย่าง เฉิง หย่งเหมา ซึ่งอุทิศชีวิต 18 ปีให้กับการบูรณะกำแพงเมืองจีน และที่ซากปรักหักพังของเตาเผาหลงเฉวียน ในมณฑลเจ้อเจียงทางตะวันออกของจีน พวกเขาได้เรียนรู้วิธีการทำเครื่องเคลือบดินเผารูปแบบโบราณ ซึ่งมีส่วนช่วยพัฒนาหมู่บ้านท้องถิ่นและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

 

รายการ ‘The Shape of Culture’ ยังมีทูตเสมือนจริง ‘เหวินชิงชิง ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากภาพของชิงเนียว (แปลว่า นกสีฟ้า) ที่บันทึกไว้ในนิทานพื้นบ้านจีน ซึ่งถือเป็นทูตนำโชค ด้วยความพยายามที่จะดึงดูดผู้ชมรุ่นเยาว์ เธอผสมผสานความงามแบบตะวันออกคลาสสิกเข้ากับเทรนด์ความงามร่วมสมัย

 

“เราทำงานในรูปแบบต่างๆ เพื่อแสดงให้เห็นถึงเสน่ห์อันเป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมจีน การนำโบราณวัตถุมาจัดแสดงเป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในปัจจุบัน เราไม่เชื่ออีกต่อไปว่าวิธีที่ดีที่สุดในการอนุรักษ์สิ่งใดสิ่งหนึ่งคือการเก็บเอาไว้ในห้องเก็บของ มรดกทางวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่สังคมและผู้คนสร้างสรรค์ขึ้น ดังนั้นมรดกทางวัฒนธรรมจึงควรแสดงเสน่ห์นั้นออกมาในชีวิตจริงของผู้คนอีกครั้ง” ชาน กล่าว

 

ชาน กล่าวต่อไปว่า การปกป้องมรดกโลกไม่ควรจำกัดอยู่เพียงเท่านั้น แต่ควรปรับให้เข้ากับยุคสมัยและสะท้อนออกมาในชีวิต บ้านเรือนแบบดั้งเดิม แหล่งมรดกอุตสาหกรรม  (industrial heritage) และมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ เช่น ประเพณีพื้นบ้านและทักษะแบบดั้งเดิม กำลังกลายเป็นส่วนสำคัญของการอนุรักษ์มรดกโลก นอกจากนี้ การปกป้องคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมยังมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับองค์ความรู้ในการก่อสร้างและการพัฒนาเมืองและชนบท

 

ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมจีนคนอื่นๆ รวมถึง เฉิน ลู่เซิง อดีตรองผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์แห่งชาติจีน พบว่าวัฒนธรรมและมรดกทางวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมในจีนมีอายุน้อยลงและมีชีวิตชีวามากขึ้น เขายกย่องความคิดสร้างสรรค์ของบุคลากรด้านวัฒนธรรมจีน โดยระบุว่า นวัตกรรมควรอิงจากความเป็นเอกลักษณ์ของมรดกทางวัฒนธรรมแต่ละชิ้น

 

เขาชี้ให้เห็นว่าจีนกำลังค้นหาวิธีที่ดีกว่าในการอนุรักษ์มรดกของตน และกำลังค้นคว้าวิธีการต่างๆ เช่น การสนับสนุนให้ประชาชนเข้าร่วมในการอนุรักษ์มรดกอย่างแข็งขัน โดยประสบการณ์ที่ประเทศได้รับในภาคสนามยังสามารถแบ่งปันกับภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลกได้อีกด้วย

 

ในบรรดาแหล่งมรดกมากมายที่ชานได้ไปเยี่ยมชมในรายการ ซากโบราณสถานของเมืองเหลียงจู่สร้างความประทับใจให้เขามากที่สุด นอกจากนี้ ชานยังได้มีส่วนร่วมในการปรับปรุงสถานที่ดังกล่าวด้วย

 

“ตอนที่เราเริ่มปรับปรุงสถานที่แห่งนี้ มันเต็มไปด้วยสถานีรีไซเคิลขยะ โรงพิมพ์ พื้นที่เกษตรกรรม หอเก็บน้ำที่รายล้อมไปด้วยเนินเขาและเหมืองหิน แต่ปัจจุบัน ที่นี่ได้กลายเป็นอุทยานโบราณคดีแห่งชาติที่มีทุ่งนาและประตูน้ำ แสดงให้เห็นภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของจีนในช่วง 5,000 ปีที่ผ่านมา และผู้เยี่ยมชม 7080% เป็นคนหนุ่มสาว” ชาน กล่าว 

 

ในการประชุม World Heritage Conference ครั้งที่ 44 ในปี 2021 กำแพงเมืองจีนได้รับการขนานนามว่าเป็นกรณีตัวอย่างในการปกป้องและจัดการมรดกโลก ซึ่งถือเป็นตัวอย่างที่โลกสามารถเรียนรู้ได้

 

ชาน กล่าวว่า ด้วยการสนับสนุนจากนโยบายของรัฐบาล ในอนาคตจะมีกรณีตัวอย่างอื่นๆ เกิดขึ้นอีก

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า