ArticlesFinland Model ทั้งโลกรอดได้ถ้ายูเครน ‘ยุติการเลือกข้าง’ อย่างฟินแลนด์

Finland Model ทั้งโลกรอดได้ถ้ายูเครน ‘ยุติการเลือกข้าง’ อย่างฟินแลนด์

ท่ามกลางสงครามข่าวสารที่พัวพันมาจากการสู้รบระหว่างรัสเซียและยูเครน ที่สังคมไทยเราแตกแยกออกเป็นฝ่ายโปรรัสเซีย และโปรอเมริกา อ. กมล กมลตระกูล ออกมาเตือนสติคนไทย พร้อมทั้งยกเอาโมเดลฟินแลนด์ขึ้นมาประกอบให้คนไทยเราหยุดการเลือกข้าง และกดดันรัฐบาลให้ทำตามเสียที

โดยเฟสบุคของ อ. กมล ระบุว่าเป็นยูเครนที่เลือกที่จะไม่เป็นกลางเอง และเคลื่อนไหวจนรัสเซียรู้สึกเหมือนถูกมีดจ่อคอหอย ซึ่งผลลัพธ์ของทางเลือกที่ไม่เป็นกลางของยูเครนคือ “โลกทั้งโลกจึงพลอยยุ่งเหยิงเดือดร้อนไปด้วยจากรความเดือดร้อนจากราคาน้ำมันแพง ค่าครองชีพสูง สินค้าขาดแคลน คนตกงาน”

นอกจากนี้ อ. กมลยกอ้างบทความของ ศ. Stefan Wolff และ ศ. David Hastings Dunn ศาสตราจารย์ทางด้านความมั่นคงระหว่างประเทศและด้านการเมืองระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม ที่ตีพิมพ์ใน The Conversation วันที่ 28 กุมภาพันธ์ ซึ่งอธิบายถึง Finland Model เพื่อเป็นทางออกในการคลายวงล้อม ถอนมีดที่จ่อคอหอยรัสเซียออกมา

ศ. Stefan และ ศ. David บอกว่า มาตรา 8 ของสนธิสัญญาปี 1947 กำหนดให้ฟินแลนด์ห้าม “องค์กรต่างๆ มาโฆษณาชวนเชื่อให้เป็นศัตรูกับสหภาพโซเวียต” ต่อมา มีข้อตกลงปี 1948 แม้จะไม่ได้ให้ปลอดทหาร แต่ได้กำหนดไว้ในมาตรา 4 ว่าฟินแลนด์ต้องไม่ “เข้าร่วมกลุ่มพันธมิตรใด ๆ ที่มุ่งต่อต้าน” สหภาพโซเวียต สนธิสัญญาสันติภาพปี 1947 กับฟินแลนด์ยังยืนยันอีกครั้งถึงบทบัญญัติของข้อตกลงสงบศึกปี 1944

ตัวอย่างอื่นๆ ที่เป็น “แบบอย่างประสบความสำเร็จ” ในความเป็นกลางซึ่งเป็น “แนวทางแก้ไขปัญหา” ที่เป็นไปได้สำหรับวิกฤตในปัจจุบัน ได้แก่ สนธิสัญญารัฐออสเตรียปี 1955 และความเป็นกลางก่อนหน้าของเบลเยียม ซึ่งตกลงกันในการประชุมลอนดอนระหว่างปี 1830-1832

ได้กำหนดไว้ตามสนธิสัญญารัฐออสเตรีย ว่า กองเมื่อกำลังพันธมิตรทั้งหมดได้ถอนกำลังออกจากประเทศออสเตรียก็จะยึดถือความเป็นกลางถาวรโดยเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ และสภาต้องทำตามรัฐธรรมนูญ โดยรัฐสภาประกาศว่า “ในอนาคตออสเตรียจะไม่เข้าร่วมกับพันธมิตรทางทหารและจะ ไม่อนุญาตให้มีการจัดตั้งฐานทัพทหารของต่างประเทศใด ๆ ในอาณาเขตของเธอ”

อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ เบลเยียมกลายเป็น “รัฐที่เป็นกลางตลอดกาล” ภายใต้เงื่อนไขของการประชุมลอนดอน มหาอำนาจทั้ง 5 แห่งในยุคนั้น ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส ปรัสเซีย ออสเตรีย และรัสเซีย ทำหน้าที่ “รับประกันความเป็นกลางถาวรตลอดจนการเคารพในบูรณภาพและอาณาเขต ที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ของอาณาเขตของเบลเยี่ยม

โมเดลทั้งหมดนี้ คือตัวอย่างของโมเดลแห่งสันติภาพ ด้วยการธำรงความเป็นกลาง เป็นตัวอย่างที่กระจ่างชัดในตัวของมันเอง และเป็นทางเลืองที่ยูเครนควรจะเลือก แต่กลับปฎิเสธมันจนทำให้โลกทั้งใบต้องเดือดร้อนกันทั่วหน้า

ยูเครนอาจจะพลาดไปแล้ว แต่ไทยเรา อย่าได้กระทำการผิดพลาดซ้ำ

ไทยเราเอง ก็อยู่ท่ามกลางอิทธิพลแห่งอำนาจที่ขัดแย้งกันระหว่างอเมริกาและจีน และที่สำคัญคือ ไทยเรานั้น อยู่ไม่ห่างจากจีนมากนัก การโปรอเมริกา หรือ โปรจีน จึงไม่ใช่ทางเลือกที่หลักกแหลมของประเทศไทยเลย

ที่คนไทยควรจะเลือก คือการ Pro-Thailand ยืนข้างผลประโยชน์ของชาติไทยต่างหากหล่ะ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า