Newsปัจจัยที่มีผลต่อราคาน้ำมันดิบโลก

ปัจจัยที่มีผลต่อราคาน้ำมันดิบโลก

ปัจจุบันหลายภาคเศรษฐกิจกำลังเผชิญปัญหาความไม่แน่นอนของราคาทรัพยากรต่าง ๆ

หนึ่งในประเด็นสำคัญที่ส่งผลกระทบโดยตรงกับคนทุกกลุ่มทั่วโลก คือราคาน้ำมันดิบโลกที่ยังคงมีความผันผวนอยู่

โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดราคาประกอบด้วย

 

สภาพเศรษฐกิจโลก : เป็นปัจจัยที่สำคัญ และมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกับราคาน้ำมัน เมื่อเศรษฐกิจเติบโต ความต้องการใช้น้ำมันจะสูงขึ้นและอาจทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นตามไปด้วย

 

กำลังการผลิตของโรงกลั่นและผู้ผลิตน้ำมัน : หากกำลังการผลิตสูง ราคาก็จะลดลง เป็นไปตามกลไกราคาน้ำมันของตลาด ไม่เพียงพอกับความต้องการ จะส่งผลให้ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น แต่ในทางกลับกัน หากความต้องการลดลงน้อยกว่ากำลังการผลิต จะส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงได้เช่นกัน

 

ฤดูกาลกับสภาพอากาศ : ความต้องการใช้น้ำมันจะเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลหรือสภาพภูมิอากาศ เช่น ในฤดูหนาว จะมีราคาสูงกว่าฤดูร้อน เพราะจะมีความต้องการใช้น้ำมันดีเซล และน้ำมันเตาเพิ่มขึ้น เพื่อใช้กับอุปกรณ์ที่ให้ความอบอุ่น รวมถึงผลกระทบจากสภาพอากาศที่เลวร้าย อุบัติเหตุ ในแหล่งผลิตน้ำมัน จะส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบตลาดโลกเพิ่มขึ้นเช่นกัน

 

ภูมิรัฐศาสตร์มีผลต่อราคาน้ำมัน : หากเกิดความไม่สงบหรือความขัดแย้งในบริเวณประเทศผู้ผลิตน้ำมันอย่างที่เป็นข่าวบ่อยครั้ง จะเกิดอุปสรรคในการขนส่ง อาจจะส่งผลให้ปริมาณน้ำมันเข้าสู่ตลาดลดลง

 

อัตราแลกเปลี่ยน : น้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดหลักของโลกนั้นซื้อขายกันด้วยเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหรือความผันผวนเกิดขึ้นกับอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงินท้องถิ่นกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ต้นทุนในการซื้อน้ำมันดิบหรือน้ำมันสำเร็จรูปในแต่ละประเทศก็จะเปลี่ยนแปลงตามอัตราแลกเปลี่ยน

 

เทคโนโลยีการผลิตพลังงาน : ในอนาคต หากการพัฒนาพลังงานทดแทนรูปแบบต่าง ๆ เช่น แสงอาทิตย์ ไฟฟ้า ไฮโดรเจน ฯลฯ สามารถผลิตได้เพียงพอต่อการใช้งานในราคาที่สามารถแข่งขันกับราคาน้ำมันได้ อาจส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันลดลง ตลอดจนนโยบายการยกเลิกการใช้รถยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงในหลายประเทศ ก็อาจส่งผลให้ราคาน้ำมันเปลี่ยนแปลงได้

 

ในประเทศไทยคงเป็นที่ทราบกันดีว่า น้ำมันดิบที่ขุดจากแหล่งปิโตรเลียมในประเทศไทย มีบางส่วนที่สามารถกลั่นได้ภายในประเทศไทย และบางส่วนที่กลั่นไม่ได้ เพราะโรงกลั่นในประเทศไม่รองรับ เนื่องจากมีโลหะหนักในปริมาณสูง จึงไม่เหมาะกับเทคโนโลยีโรงกลั่น หากโรงกลั่นรับซื้อน้ำมันดิบส่วนนี้ จะเป็นการเพิ่มต้นทุนและจำเป็นต้องมีค่าปรับอุปกรณ์ ผลที่ตามมาคือ น้ำมันจะถูกจำหน่ายในราคาที่แพงขึ้น

 

ซึ่งการหาแหล่งปิโตรเลียมก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องผ่านกระบวนการสำรวจหลายปี และการจะสร้างแท่นขุดเจาะซักที่หนึ่ง ก็ใช้ต้นทุนสูง นอกจากน้ำมันดิบแล้วในส่วนของน้ำมันสำเร็จรูปเราก็ส่งออกเช่นกัน เพราะเมื่อผ่านการกลั่นออกมาแล้วผลิตเกินความต้องการของประเทศ หรือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ถูกเลือกสำหรับการใช้งานภายในประเทศ เช่น เบนซิน ดีเซล และน้ำมันเตา

 

แต่ในเมื่อมีการใช้น้ำมันในหลายภาคส่วน ทั้งการผลิตไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม การขนส่ง การเกษตร รวมถึงในครัวเรือน จึงจำเป็นต้องนำเข้าน้ำมันบางชนิดเข้ามาเพิ่มเติม เพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณความต้องการใช้ของคนในประเทศ

 

ด้วยเหตุนี้เอง ไทยจึงมีการส่งออกน้ำมันดิบส่วนที่ใช้ไม่ได้ รวมถึงน้ำมันสำเร็จรูปที่ประเทศอื่นมีความต้องการ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้น้ำมันส่วนเกิน สร้างรายได้ให้กับประเทศจากการส่งออกน้ำมันส่วนนี้ และ สร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า