
ผิดเชิงวิชาการจริง แต่โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง (กรมพระยาชัยนาทฯ ไม่มีสถานะบุคคลแล้ว)
ผิดเชิงวิชาการจริง
แต่โจทย์ไม่มีอำนาจฟ้อง
(กรมพระยาชัยนาทฯ ไม่มีสถานะบุคคลแล้ว)
ถึงแม้ว่าศาลจะมีคำพิพากษาในคดีที่ ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต (โจทก์) ฟ้องผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดพิมพ์หนังสือเรื่อง “ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ : ความเคลื่อนไหวของขบวนการปฏิปักษ์ปฏิวัติสยาม (พ.ศ. 2475-2500)” และ “ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี : การเมืองไทยภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา 2491-2500” ดังต่อไปนี้ ในข้อหา “ละเมิดไขข่าวด้วยข้อความฝ่าฝืนความจริง”
1 ผศ.ดร.ณัฐพล ใจจริง ผู้เขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง “การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2491-2500)”
2 รศ.ดร. กุลลดา เกษบุญชู มี้ด ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ (ถอนฟ้องในภายหลัง)
3 ชัยธวัช ตุลาธน บรรณาธิการหนังสือ “ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อฯ”
4 อัญชลี มณีโรจน์ บรรณาธิการหนังสือ “ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรีฯ”
5 ห้างหุ้นส่วนจำกัด สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ผู้จัดพิมพ์หนังสือทั้ง 2 เล่ม
6 ธนาพล อิ๋วสกุล บรรณาธิการบริหารสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน
โดยศาลได้พิจารณายกฟ้องไปแล้วตั้งแต่วันที่ 13 พ.ย. 2567 แต่ก็ยังคงมีความเข้าใจผิดที่เกี่ยวข้องกับกรณีนี้เป็นจำนวนมากในประเด็นดังต่อไปนี้
— ศาลถอนฟ้อง เพราะโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง —
ในคำพิพากษา ศาลเริ่มต้นด้วยการพิจารณาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ ? ก่อนที่จะชี้แจงว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ซึ่งสามารถสรุปประเด็นได้ดังนี้
1 หนังสือไม่ได้พาดพิงถึงโจทก์โดยตรง และไม่ได้ทำให้ตัวโจทก์เสียหาย
2 กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ซึ่งเป็นบุคคลที่ถูกพาดพิงในกรณีนี้นั้น สิ้นพระชม์ไปแล้ว
3 ศาลไม่เห็นว่าโจทก์ได้รับความเสียหาย
4 ราชสกุลรังสิตไม่มีสภาพบุคคลตามกฎหมาย อีกทั้งโจกท์ไม่ได้รับมอบอำนาจจากบุคคลอื่นในราชสกุลรังสิต
5 ถึงแม้ว่าโจทก์จะเป็นประธานมูลนิธิสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร แต่โจทก์ไม่ได้ฟ้องในนามมูลนิธิฯ จึงไม่อาจอ้างความเสียหายของมูลนิธิฯ ได้
— เนื้อหาผิดพลาดจริงหรือไม่? —
ในสำนวนคดีนั้น ศาลไม่ได้พิจารณถึงความถูกต้องของหนังสือเลย อีกทั้งยังเห็นว่า โจทก์เองก็ไม่อาจทราบได้ว่าเนื้อความในหนังสือนั้นเป็นจริงหรือไม่ เนื่องจากเป็นเหตุการณ์ในช่วงเวลาที่โจทก์ยังไม่เกิด
แต่ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2564 ผศ.ดร.ณัฐพล ใจจริง ได้ทำหนังสอชี้แจงถึงกรณีดังกล่าว โดยเนื้อความในตอนหนึ่งยอมรับว่า มีข้อผิดพลาดในวิทยานิพนธ์ดังกล่าวจริง ว่า
“หลังจากข้าพเจ้าทราบจากคณะกรรมการวิทยานิพนธ์และบัณฑิตวิทยาลัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถึงข้อร้องเรียนของศ.ดร.ไชยันต์ (ไชยพร อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) แล้ว ข้าพเจ้ามิได้นิ่งนอนใจและได้รีบตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องในทันที
และพบว่า ‘ข้าพเจ้าอ่านผิดพลาดจริง’ หลังจากปรึกษาคณะกรรมการวิทยานิพนธ์ที่ร่วมประชุม ข้าพเจ้าจึงแสดงเจตจำนงขอแก้ไขประเด็นนี้ต่อบัณฑิตวิทยาลัยในทันที
แต่ทางบัณฑิตวิทยาลัยไม่อนุญาตให้แก้ไขใด ๆ ซึ่งเป็นกฎที่ใช้กับวิทยานิพนธ์ทุกเล่มที่ผ่านกระบวนการสอบเสร็จสมบูรณ์แล้ว และบัณฑิตวิทยาลัยได้ดำเนินการระงับการเผยแพร่วิทยานิพนธ์ของข้าพเจ้าในเวลาต่อมา”
ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า เนื้อหาในหนังสือที่เป็นประเด็นทั้ง 2 ฉบับ มีส่วนที่ผิดพลาดเชิงวิชาการจริง แต่ศาลเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจในการฟ้องร้อง จึงพิพากษาให้ยกฟ้องไป