
มาตรการประหยัดพลังงงานของประเทศอาเซียนในสถานการณ์วิกฤติ
อินโดนีเซีย
โยกงบพลังงาน 1.62 พันล้านดอลลาร์ หรือ 5% ของงบอุดหนุนเชื้อเพลิง ไปเป็นรายจ่ายด้านสังคม ซึ่งรวมไปถึงการแจกเงินสด
ขยายระยะเวลาการงดเว้นภาษีการส่งออกน้ำมันปาล์ม ซึ่งคาดว่าจะช่วยรักษาเสถียรภาพของน้ำมันปาล์มดิบให้มีความสมดุลระหว่างการใช้ในภาคพลังงานและอาหาร
—
กัมพูชา
อุดหนุนการไฟฟ้าแห่งกัมพูชาเพื่อรักษาอัตราค่าไฟให้คงที่ พร้อมทั้งเรียกร้องให้ประชาชนประหยัดไฟ และหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าแทน เพื่อลดการใช้เชื้อเพลิง
เน้นย้ำความสำคัญของโรงไฟฟ้าพลังน้ำและพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งจีนเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ให้กัมพูชา
—
ฟิลิปินส์
รณรงค์ให้ประชาชนประหยัดพลังงานในหลากหลายวิธี ซึ่งรวมไปถึงการเรียกร้องให้มีการซื้ออุปกรณ์ประหยัดพลังงาน ฝึกประหยัดพลังงาน และใช้พลังงานหมุนเวียน
รัฐบาลตั้งเป้าจะลดการใช้ไฟฟ้าลง 10% ด้วยการเปลี่ยนมาใช้หลอด LED และใช้เครื่องปรับอากาศแบบอินเวิร์ตเตอร์
—
สิงคโปร์
เปลี่ยนมาใช้หลอด LED และพลังงานแสงอาทิตย์ และติดตั้งระบบทำความเย็นแบบรวมศูนย์
ผลักดันโครงการฉลากพลังงานบังคับ เพื่อช่วยผู้บริโภคเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้าประกอบการตัดสินใจ
ประกาศใช้มาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานขั้นต่ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคครัวเรือน
—
เวียดนาม
ร่างแผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยประสิทธิภาพพลังงาน การประหยัด และการอนุรักษ์ทรัพยากรพลังงาน
—
เมียนมาร์
เร่งโครงการสร้างโรงไฟฟ้า ซึ่งเสียหายจากความไม่สงบในประเทศ ด้วยการเชิญชวนนักลงทุนชาวต่างชาติ
—
ลาว
เพิ่มการสร้างโรงงานไฟฟ้า เพื่อช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงไฟฟ้าได้ทุกครัวเรือน
—
มาเลเซีย
ลงทุนในการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน
—
บรูไน
ประกาศใช้มาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานขั้นต่ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคครัวเรือน
เพิ่มการลงทุนในพลังงานทดแทน
ยกเลิกการใช้ท่อส่งน้ำมันเก่า เพื่อลดการสูญเสียในการบวนการลำเลียงน้ำมัน
—
ไทย
ไทยตั้งเป้าลดใช้พลังงานให้ได้ 20% โดยตั้งเป้าให้หน่วยงานภาครัฐลดการใช้ไฟฟ้าและน้ำมันลง 20% ซึ่งหน่วยงานภาครัฐต่างขานรับมาตรการลดใช้พลังงานอย่างเต็มที่ อาทิ ปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศให้อยู่ที่ 26-27 องศาเซลเซียส และกำหนดเวลาปิดเครื่องปรับอากาศในช่วงพักกลางวันและก่อนเวลาเลิกงานอย่างน้อย 30 – 60 นาที ปิดลิฟต์บางตัวในช่วงที่มีการใช้งานน้อยและรณรงค์ขึ้น-ลงชั้นเดียว ไม่ใช้ลิฟต์ให้หยุดเฉพาะ รณรงค์ให้พนักงานสวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดีและงดใส่สูท สนับสนุนการประชุมออนไลน์เพื่อลดการเดินทางและการใช้น้ำมัน
ขณะเดียวกันจะมีการรณรงค์ให้ภาคประชาชน (1) เลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า ประหยัดไฟ เบอร์ 5 (2) เปิดแแอร์ที่ 25-26 องศา ปิดประตูให้สนิท และอ้างแอร์ทุก 6 เดือน (3) ใช้หลอดไฟ LED ขนาด 7 วัตต์ แทนหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ (CFL) ขนาด 13 วัตต์
ข้อแตกต่างระหว่าง “สปก 4-01” กับ “โฉนดที่ดินเพื่อการเกษตร”
ผู้ประกอบการหวั่น สินค้าในสหรัฐต้นทุนพุ่ง หากทรัมป์ขึ้นภาษีนำเข้าทองแดงและอลูมิเนียม
ยืนยันตัวตนผ่าน 7-11 ได้แล้ว! กับ ‘ทางรัฐ’ แอพลิเคชั่นของภาครัฐ ที่ให้บริการประชาชนผ่านมือถือได้
ศิราวุธ ภุมมะกสิกร
อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม