Newsยกระดับธุรกิจ ท่องเที่ยวสู่ความหรูหราที่ยั่งยืน ‘ผู้ว่า ททท.’ เผย 3 แนวทางในการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

ยกระดับธุรกิจ ท่องเที่ยวสู่ความหรูหราที่ยั่งยืน ‘ผู้ว่า ททท.’ เผย 3 แนวทางในการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โพสต์บทสรุปรายงานของ ททท. เรื่อง ยกระดับธุรกิจให้เป็น Sustainable Luxury (ความหรูหราที่ยั่งยืน) ผ่านเฟสบุ๊ค โดยมีข้อความว่า

 

3 มิติ ยกระดับท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ สู่ Sustainable Luxury

Euromonitor International คาดการณ์ว่าปี 2025 การใช้จ่ายในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจะมีมูลค่าสูง 1.05 แสนล้านสหรัฐดอลลาร์ หรือประมาณ 3.6 ล้านล้านบาท นี่จึงเป็นสัญญาณบอกทิศทางของเทรนด์ธรรมชาติกับสุขภาพ ททท. จึงขอชวนผู้ประกอบการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ กับการมอบสุขภาพดี พร้อมๆ กับการบริการแบบพรีเมียมรักโลก ผ่าน 3 รูปแบบการบริการ คือ

  1. Transportainable เดินทางอย่างยั่งยืน

ระบบขนส่งเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว แต่ก็เป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน ผู้ประกอบการจึงต้องมองหาตัวเลือกอื่น ๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

  1. Wellnesstainable ฮีลใจแบบยั่งยืน

บริการต่าง ๆ ด้านสุขภาพ เหล่านี้ล้วนต้องใช้ทรัพยากรและใช้พลังงานจำนวนมาก มีแนวคิดที่น่าสนใจและเหมาะแก่ผู้ประกอบการสามารถนำมาปรับใช้ได้

  1. Gastrainable บริโภคอย่างยั่งยืน

อาหารก็เป็นปัจจัยหลักในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ค่านิยมที่ว่า บริการอันหรูหราไม่ควรให้นักท่องเที่ยวต้องเผชิญและอดทนรอกับอาหารที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ แต่ก็นำมาซึ่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมมากมาย



สำหรับรายละเอียดของรายงานฉบับดังกล่าวนั้นระบุว่า ปัจจุบันนี้ ความหรูหราเพียงอย่างเดียวไม่สามารถตอบโจทย์นักท่องเที่ยวได้อย่างครอบคลุมอีกต่อไป แต่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องตระหนักถึงผลกระทบที่ธุรกิจสร้างต่อสิ่งแวดล้อม และค้นหาวิธีที่จะลดผลกระทบเหล่านั้น 

 

อีกทั้งยังต้องมีความรับผิดชอบ และสร้างคุณประโยชน์ให้แก่สังคม ซึ่งการนำเอาความหรูหรามาบูรณาการกับแนวคิดด้านความยั่งยืนนั้น เรียกว่า “Sustainable Luxury”

ซึ่งถึงแม้ว่าคำ Sustainable (ความยั่งยืน) กับ Luxury (ความหรูหรา) นั้นอาจจะดูขัดแย้งกัน แต่สามารถนำมาผสมผสานกันและปฏิบัติไปควบคู่กันได้

 

ผ่านการนำแนวคิดที่นำเอาความหรูหรา การสร้างประสบการณ์สุดพิเศษ ผ่านสินค้าและบริการแบบพรีเมียม มาผสมผสานกับแนวคิดความยั่งยืน ซึ่งความยั่งยืนในที่นี้มิใช่เพียงแค่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงคุณภาพชีวิตของชุมชนในละแวกเดียวกัน การสนับสนุนท้องถิ่น และการสร้างผลกระทบในเชิงบวกระยะยาวให้กับทุกภาคส่วน 

 

แม้แต่ในวงการแฟชั่นที่มักจะนำเอานิยมของความหรูหรามาใช้ แต่ในปัจจุบัน หลายแบรนด์เสื้อผ้าก็ได้พยายามผลักดันแนวคิดแฟชั่นที่จะสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างน้อยที่สุด แน่นอนว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเองก็สร้างร่องรอยทางคาร์บอนไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน แนวคิด Sustainable Luxury จึงถูกนำมาปรับใช้ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวด้วย 

 

การเติบโตของนักท่องเที่ยวกลุ่ม Luxury Traveller ที่มาควบคู่กับการเติบโตของเทรนด์ความยั่งยืนในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จึงทำให้แนวคิดของ Sustainable Luxury มีความสำคัญต่อผู้ประกอบการธุรกิจด้วย โดย ททท. ได้ทำการสรุปแนวทางการปรับใช้ดังนี้

1 Transportainable เดินทางอย่างยั่งยืน

โดยการหันมาใช้ยานพาหนะในการเดินทางที่ลดการปล่อยคาร์บอน อย่าง Limougreen ซึ่งเป็นบริการรถลีมูนซีนที่มีความเพียบพร้อมได้ด้วยความหรูหรา และสะดวกสบาย แต่ก็ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (EV) ที่จะไม่สร้างผลกระทบในแง่ลบให้กับสิ่งแวดล้อม 

 

หรือการใช้เรือยอร์ชขนาดเล็ก หรือการล่องเรือสำราญขนาดใหญ่ ที่มุ่งลดการสร้างมลภาวะ และผลกระทบต่อท้องทะเล ไม่ว่าจะเป็นการลดมลพิษ และการปล่อยของเสียลงทะเล ไปตลอดจนถึงการสร้างความร่วมมือกับองค์กรที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ 

 

  1. Wellnesstainable ฮีลใจแบบยั่งยืน

    ซึ่งประกอบไปด้วยการนำ ศาสตร์บำบัดด้วยธรรมชาติ (Naturopathy) เข้ามาประยุกต์ใช้ในธุรกิจท่องเที่ยวในด้าน Wellness ที่ต้องการเจาะกลุ่มลูกค้า Luxury Traveller โดยเป็นการบำบัดที่ต้องใช้พื้นที่ป่า หรือพื้นที่ใดก็ตามที่ล้อมรอบไปด้วยธรรมชาติเป็นสถานที่ในการบำบัดฟื้นฟูร่างกายและจิตใจของนักท่องเที่ยว

 

และการท่องเที่ยวแบบ Eco-Destination ผ่านการสร้างสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์นักท่องเที่ยวสาย Wellness  แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องไม่ทำลายพื้นที่ป่า โดยผู้ประกอบการจำเป็นต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมรอบข้าง และชุมชนในท้องถิ่นนั้น ๆ 

 

ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการแบ่งเอากำไรจากธุรกิจมาคืนสู่คนในชุมชน ด้วยการสนับสนุนแรงงานท้องถิ่น และใช้ผลิตภัณฑ์จากท้องถิ่น นอกจากจะช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชนแล้ว ยังช่วยลดการเกิดคาร์บอนฟุตพรินต์ที่จะเกิดขึ้นในขั้นตอนขนส่งได้อีกด้วย

 

  1. Gastrainable บริโภคอย่างยั่งยืน

    โดยธุรกิจอาหารในภาคการท่องเที่ยวจะต้องคำนึงถึงหลักดังนี้

    1) Eat-Life Balance ที่เน้นการลดการสร้างความสูญเสียทางอาหาร (Food Waste)

    2) Ethical Food (อาหารที่มีจริยธรรม) ที่ไม่นำเอาอาหารที่ต้องผ่านขั้นตอนที่ทรมานสัตว์เช่นกรอกอาหารใส่ปากห่านอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้มาซึ่งตับห่านชิ้นโต (ฟัวกราส์) หรือเมนูอาหารที่อาจจะสร้างภาวะความเสี่ยงให้สัตว์บางสายพันธุ์ต้องสูญพันธุ์ เช่น หูฉลาม คาเวียร์ 



เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า