Newsนโยบายสาธารณะและการพัฒนาเศรษฐกิจอีสานมีแนวโน้มเติบโตต่ำ ‘ธปท.’ ผลักดัน 2 มาตรการทางการเงิน ช่วยอุตสาหกรรมอีสาน ฝ่าวงล้อมสงครามการค้า และวิกฤติภาวะโลกร้อน

เศรษฐกิจอีสานมีแนวโน้มเติบโตต่ำ ‘ธปท.’ ผลักดัน 2 มาตรการทางการเงิน ช่วยอุตสาหกรรมอีสาน ฝ่าวงล้อมสงครามการค้า และวิกฤติภาวะโลกร้อน

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยแพร่บทความเรื่อง ความท้าทายภาคการผลิตอีสานหลังโควิดคลี่คลาย ซึ่งกล่าวถึงภาคอุตสาหกรรมของอีสาน ที่กำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายเชิงวัฎจักร จากการที่อุปสงค์โลกฟื้นตัวช้าและสินค้าคงคลังของคู่ค้ายังอยู่ในระดับสูง

 

ในขณะที่ปัจจัยเชิงโครงสร้าง ที่มีภาคการผลิตที่ผลิตสินค้าที่ไม่ตอบสนองต่อความต้องการของโลกในปัจจุบัน โดยในปี 2566 อุตสาหกรรมที่เน้นส่งออก เช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์หดตัวลง โดยอุตสาหกรรมกลุ่มนี้ คิดเป็น 16% ของภาคการผลิต 

 

ส่วนการผลิตที่เน้นการขายในประเทศหดตัว เช่น หมวดเครื่องดื่ม จากกำลังซื้อที่ยังเปราะบางจากภาระหนี้และค่าครองชีพที่อยู่ในระดับสูง ประชาชนยังระมัดระวังการใช้จ่าย ขณะที่การผลิตปูนซีเมนต์ลดลงตามภาวะตลาดภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซา 

 

นอกจากนี้กำลังการผลิตยางพาราลดลงจากปัญหาภัยแล้ว และสินค้าในหมวดสิ่งทอเครื่องแต่งกายหดตัวลงสูงมากถึง 32.3% เนื่องจากสินค้าจีนที่ทะลักเข้ามาไทยมากขึ้น 

 

อย่างไรก็ดี ในปี 2567 ดัชนีการผลิตกลับมาขยายตัวได้บ้าง จากการผลิตหมวดอาหาร โดยเฉพาะน้ำตาลทรายขาวที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นตามความต้องการของคู่ค้า การผลิตเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ขยายตัวตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และการผลิตหมวดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับดีขึ้นจากการเติบโตของธุรกิจกลุ่มดาต้าเซ็นเตอร์

 

ในส่วนของการลงทุนใหม่ในภาคอีสาน ลดลงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย 10 ปี แต่การลงทุนในอุตสาหกรรมอาหารยังดี และมีสูงมากเป็นอันดับ 1 โดยเฉพาะโรงงานน้ำตาล แปรรูปเนื้อสัตว์ และแป้งมันสำปะหลัง

 

ส่วนการลงทุนในโรงงานไฟฟ้าพลังงานสะอาด มีสูงเป็นอันดับ 2 ในขณะที่อันดับ 3 เป็นของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จากนักลงทุนต่างประเทศที่มองถึงจุดยุทธศาสตร์ของภาคอีสานที่มีระบบโลจิสติกส์ เอื้อต่อการขนส่งไปประเทศกลุ่มอาเซียน และจีน

 

ถึงแม้ว่าในช่วงปี 2565 2567 จะมีโรงงานปิดตัวลงไปสูงกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี แต่บริษัทที่อยู่รอดมาได้ ต่างมีแนวทางในการเอาตัวรอดที่คล้ายกัน 4 ข้อคือ 1) การเพิ่มมูลค่า 2) การลดต้นทุน 3) การเพิ่มช่องทางจำหน่าย และ 4) การหาผู้ร่วมลงทุน โดยในแต่ละอุตสาหกรรมมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน

 

อย่างไรก็ดี ความท้าทายในระยะถัดไปของอุตสาหกรรมอีสาน มี 2 ปัจจัยหลักดังนี้

1 นโยบายการค้าของสหรัฐ ที่จะมีการกำหนดอัตราภาษีนำเข้าใหม่ ซึ่งจะส่งผลกระทบกับภาคผลิตอีสานที่มีห่วงโซ่อุปทานกับสหรัฐ ผ่านประเทศที่ถูกตั้งกำแพงภาษี เช่นหมวดยาง หมวดอิเล็กทรอนิกส์ หมวดสิ่งทอและเครื่องแต่งกาย ในขณะที่หมวดอาหารมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบน้อยกว่า

2 นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม (ซึ่งมีผลกระทบจากความตระหนักถึงปัญหาภาวะโลกร้อน) เช่น มาตรฐาน Bonsucro สำหรับผลิตภัณฑ์น้ำตาล และกฎหมายว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EUDR) ซึ่งถ้าหากปรับตัวไม่ทันอาจส่งผลกระทบต่อความต้องการสินค้าได้

 

อย่างไรก็ดีในระยะถัดไป เศรษฐกิจภาคอีสานมีแนวโน้มเติบโตต่ำ จากภาคการผลิตที่ยังมีปัญหาเชิงโครงสร้าง ทั้งการผลิตสินค้าโลกเก่า และขาดปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ ในการผลักดันให้เศรษฐกิจอีสานเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ  

 

อีกทั้งยังมีความท้าทายใหม่ที่จะกดดันภาคผลิตอีสานจากนโยบายการค้าสหรัฐ และกระแสสิ่งแวดล้อม ที่ภาคธุรกิจควรเร่งปรับตัวให้ทัน ขณะเดียวกันภาครัฐควรเร่งพัฒนาศักยภาพแรงงานและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับและดึงดูดอุตสาหกรรมใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

 

ซึ่งเรื่องนี้ ทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกันสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการปรับตัวของภาคธุรกิจ ภาครัฐควรเสริมสร้างความเชื่อมั่นในการรับมือกับสงครามทางการค้าและสินค้าที่จะทะลักมาจากจีน และบทบาทภาคการเงินที่ช่วยเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมให้ทันการณ์

 

ธปท. มุ่งผลักดันให้ภาคการเงินมีบทบาทในการช่วยให้ภาคเศรษฐกิจเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืน โดยได้ดำเนินการ 2 ส่วน ได้แก่

 

1) การวางรากฐานที่จำเป็นในระยะยาวสำหรับระบบนิเวศด้านสิ่งแวดล้อม เช่น แนวนโยบายการให้สถาบันการเงินผนวกเรื่องสิ่งแวดล้อมในการทำธุรกิจ (Standard Practice) และการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจด้านสิ่งแวดล้อมของไทย (Thailand Taxonomy)

 

2) การสร้างแรงจูงใจให้เกิดการปรับตัวมากขึ้น โดยให้สถาบันการเงินมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ช่วยสนับสนุนการปรับตัวของภาคธุรกิจ โดยมีโครงการ Financing the Transition ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับความร่วมมือจากธนาคารพาณิชย์ 8 แห่ง 

 

ในการกำหนดเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อเพื่อการปรับตัว ในปี 2568 สูงถึง 1 แสนล้านบาท เพื่อให้ภาคธุรกิจปรับเปลี่ยนกระบวนการดำเนินงานที่มีหรือได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมสูงไปสู่การดำเนินงานที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมลดลง

 

อ่านบทความฉบับเต็มที่นี่ – https://www.bot.or.th/th/research-and-publications/articles-and-publications/articles/regional-articles/reg-article-2025-02.html?fbclid=IwY2xjawJA0ZFleHRuA2FlbQIxMAABHVFifQKW8NaJx0fZ_M1vWGNN-EW_wqrNuaQQ–6KxP6UwOJSOITxGZFnVg_aem_6I_V1Q0a-CrvJ44a_QhGIQ 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า