Uncategorizedส่งทีมจิตแพทย์เยียวยา ผู้ประสบเหตุไฟไหม้รถบัสแล้ว ‘กรมสุขภาพจิต’ ขอความร่วมมือไม่นำเด็กมาทำข่าว/สร้างภาพ เลี่ยงการใช้ภาพเร้าอารมณ์ผู้ที่กำลังโศกเศร้า

ส่งทีมจิตแพทย์เยียวยา ผู้ประสบเหตุไฟไหม้รถบัสแล้ว ‘กรมสุขภาพจิต’ ขอความร่วมมือไม่นำเด็กมาทำข่าว/สร้างภาพ เลี่ยงการใช้ภาพเร้าอารมณ์ผู้ที่กำลังโศกเศร้า

นายแพทย์กิตติศักดิ์ อักษรวงศ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่า กรมสุขภาพจิตได้มีการจัดทำแผนเยียวยาจิตใจทุกกลุ่มจากเหตุการณ์ไฟไหม้รถบัสทัศนศึกษาของโรงเรียนวัดเขาพระยาสังฆาราม จังหวัดอุทัยธานี ดังนี้

1 ส่งทีมจิตแพทย์ 1 ราย นักจิตวิทยา 2 ราย รอประเมินและเยียวยาจิตใจครอบครัวของกลุ่มนักเรียนบาดเจ็บและบาดเจ็บสาหัส 8 ราย 

2 ส่งทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต (MCATT) 2 ทีมเข้าเยียวยาจิตใจ กลุ่มนักเรียนที่อยู่ และเห็นเหตุการณ์ รถคันที่สอง จำนวน 16 ราย  ถึงพื้นที่แล้ว

3 ส่งทีม MCATT 1 ทีมเข้าเยียวยาจิตใจกลุ่มนักเรียนที่เหลือที่อยู่ในขบวนรถที่ประสบเหตุ  ถึงพื้นที่แล้ว

4 ส่งทีม MCATT 1 ทีมเข้าเยียวยาจิตใจ กลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองของผู้เสียชีวิตเข้าเยียวยาจิตใจที่ รพ. ตำรวจ

 

(ทีม MCATTA 1 ทีมประกอบไปด้วยจิตแพทย์ 2 คน นักจิตวิทยา และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต 10 คน)

อีกทั้งยังได้ประเมินคัดกรองสุขภาพจิตไปแล้ว 24 ราย โดยทั้งหมดนั้น

– อยู่ในภาวะเครียดระดับน้อย 5 ราย ปานกลาง 8 ราย มาก 11 ราย
– อยู่ในภาวะเศร้า ระดับน้อย 3 ราย ปานกลาง 3 ราย มาก 5 ราย
– ให้คำปรึกษารายบุคคล 8 ราย ส่งต่อ 1 ราย และเฝ้าระวัง 3 ราย คือ ตั้งครรภ์ 1 ราย ความดันโลหิตสูง 2 ราย อีกด้วย

นอกจากนี้ยังขอความร่วมมือให้ทำ และไม่ทำ ในสิ่งต่อไปนี้ เพื่อลดความเสี่ยงจากภาวะเครียดหลังเหตุการณ์รุนแรง ดังนี้

สิ่งที่ควรทำ

1. คำนึงถึงความปลอดภัยทั้งร่างกายและจิตใจของเด็กเป็นอันดับหนึ่ง
2. รีบส่งเด็กกลับสู่ครอบครัวและการใช้ชีวิตตามปกติ
3. ผู้ใหญ่จัดการอารมณ์ตนเองเป็นต้นแบบ
4. มีผู้ใหญ่/ผู้ปกครอง ดูแลใกล้ชิด เป็นที่พึ่งทางจิตใจโดยเฉพาะในครอบครัวที่มีการสูญเสีย
5. พาทำกิจกรรมผ่อนคลาย เพื่อหันเหความสนใจจากเหตุการณ์

สิ่งที่ไม่ควรทำ

1. ไม่ถามเด็กให้เล่าถึงรายละเอียดของเหตุการณ์
2. งดนำเด็กมาออกข่าว/เสพข่าว
3. ไม่นำเด็กมาเป็นเครื่องมือการสร้างภาพกระแสดราม่า

พร้อมกันนี้ กรมสุขภาพจิตแนะแนวทางในการดูแลญาติและครอบครัวของผู้ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ ดังนี้

1. แจ้งการสูญเสียด้วยความเห็นอกเห็นใจ เข้าใจ
2. แสดงความเสียใจเป็นข้อความหรือการ์ด
3. ให้ข้อมูลความรู้สุขภาพจิตเบื้องต้น
4. ให้คำแนะนำการปรับตัว การดูแลสุขภาพ ติดต่อสังคมเพื่อนฝูง การไว้อาลัยที่สามารถทำได้
5. ประเมินสุขภาพจิต ถ้าพบความเสี่ยงควรส่งต่อทันที
6. สนับสนุนให้ตั้งกลุ่มเพื่อน เพื่อช่วยเหลือกันเอง

นอกจากนี้ เมื่อวาน (1 ต.ค. 2567) กรมสุขภาพจิตยังได้โพสต์เฟซบุ๊ก ขอความร่วมมือเขียนข้อความไว้อาลัยอย่างเหมาะสม โดย ”หลีกเลี่ยง“ การวาดภาพประกอบขึ้นมาใหม่หรือสร้างภาพจาก AI ที่จะเร้าอารมณ์ของผู้ที่กำลังโศกเศร้าอีกด้วย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า