Newsวีระชมรัฐบาลที่ให้ อำนาจสภาฯ ตรวจสอบได้ แต่ไม่เห็นด้วยกับวิธีการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วย ‘ดิจิทัล วอลเล็ต’ ชี้มีความเสี่ยงจากการดำเนินนโยบายขาดดุลที่อันตราย

วีระชมรัฐบาลที่ให้ อำนาจสภาฯ ตรวจสอบได้ แต่ไม่เห็นด้วยกับวิธีการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วย ‘ดิจิทัล วอลเล็ต’ ชี้มีความเสี่ยงจากการดำเนินนโยบายขาดดุลที่อันตราย

นายวีระ ธีระภัทรานนท์ หรือ อาจารย์วีระ นักจัดรายการวิทยุ ในฐานะคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 อภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร์ วาระการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวนเงิน 1.22 แสนล้านบาท

 

โดยเสนอให้มีการตัดดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 ลงเหลือเพียง 5 หมื่นล้านบาท จากที่รัฐบาลเสนอ 122,000 ล้านบาท โดยให้ข้อสังเกตว่าในภาพรวมของโครงการดิจิทัล วอลเล็ต ที่ถึงแม้ว่าจะมีการลดวงเงินลงแล้ว จาก 5 หมื่นล้านบาทเหลือ 4.5 หมื่นล้านบาท แต่มีความเชื่อมโยงถึงแหล่งที่มาของเงินที่จะใช้ในโครงการนี้ นอกเหนือจากวงเงินรายจ่ายเพิ่มที่กำลังพิจารณาในวาระนี้

ถือเป็นการจัดทำงบประมาณแบบรวมห่อ หรือว่าเป็น package ซึ่งเป็นการใช้เทคนิกในการจัดทำงบประมาณที่ไม่ตรงไปตรงมา แต่ไม่ขออภิปรายถึงความเหมาะสม แต่ขอตั้งข้อสังเกตถึงความผิดปกติดังนี้ 

 

ที่มาของเงินในโครงการนี้มี 3 แหล่ง

1 งบประมาณรายจ่ายปี 67 เป็นงบปกติ และงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมที่กำลังพิจารณา วงเงินรวมกัน 1.65 แสนล้านบาท

2 งบประมาณปกติจากปี 68 วงเงิน 1.572 แสนล้านบาท

3 จากงบประมาณปกติปี 68 โดยไม่บอกที่มาอย่างชัดเจน วงเงิน 1.32 แสนล้านบาท 

ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า อาจจะให้ ธกส. ทดลองจ่ายไปก่อน หรืออาจออกเป็นงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมปี 2568 หรือจัดสรรวงเงินงบประมาณปกติปี 2568 ที่กำลังพิจารณาอยู่ก็ได้ แต่งบประมาณปี 2568 ซึ่งใช้เงิน 1.527 ล้านบาท

 

ที่จนถึงขณะนี้กระทรวงการคลังยังไม่ได้ส่งรายละเอียดมาชี้แจงใน กมธ. ทั้งที่รับปากว่าจะนำส่งใน 2 สัปดาห์ แต่นี่ผ่านมาแล้ว 5 สัปดาห์แล้ว ซึ่งตนเข้าใจว่าคงมีปัญหาแต่จะยังไม่ขอพูดถึง แต่ตนสรุปได้ว่าค่อนข้างจะฉุกละหุก ชุนละมุน สมกับที่รัฐบาลบอกว่ามีความจำเป็นฉุกเฉิน

 

สำหรับวงเงินที่ใช้ในโครงการมีวงเงิน 4.5 หมื่นล้าน เทียบเท่ากับ 2.5% ของ GDP ซึ่งในแง่จำนวนถือว่าไม่มาก แต่มาใช้ในช่วงเวลาที่รัฐบาลก่อนได้ใช้เงินกู้ 1.5 ล้านล้านบาท ในการประคองเศรษฐกิจในช่วงวิกฤติโควิด-19 คิดเป็น 10% ของ GDP

 

ช่วงเวลานี้จึงเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลควรจะถอนคันเร่งในการอัดเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจ เป็นช่วงเวลาที่ควรปรับลด ไม่ใช่กู้เพิ่ม จนทำให้ยอดคงค้างหนี้สาธารณะของประเทศเพิ่มขึ้นในอัตราเร่งที่น่าเป็นห่วง โดยไม่มีทีท่าที่จะลดลง และเป็นการดำเนินนโยบายขาดดุลที่อันตราย

 

อีกทั้งโครงการนี้เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการจับจ่ายใช้สอยอย่างเฉพาะกิจทางด้านอุปสงค์ แทนที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจด้านผ่านการลงทุนทางด้านการผลิต หรือด้านอุปทาน ที่จะสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจไทยในอนาคตมากกว่า

 

แต่ถึงแม้ว่าการตั้งโครงการจะมีความสลับซับซ้อน แต่ขอชื่นชมรัฐบาลที่ดำเนินการลดความเสี่ยงทางด้านข้อกฎหมายด้วยการใช้งบประมาณปกติ เพื่อให้ฝ่ายนิติบัญญัติได้ตรวจสอบด้วยความรอบคอบ แต่ถึงกระนั้น โครงการนี้ก็ยังคงมีความเสี่ยงทางด้านการเงินการคลังอยู่ดี

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า