Newsรู้จัก Sadfishing หรือ “โศกาสาไถย” ศัพท์บัญญัติใหม่ของ ‘ราชบัณฑิตยสภา’ ที่สะท้อนพฤติกรรมคนในโซเชียลมีเดีย

รู้จัก Sadfishing หรือ “โศกาสาไถย” ศัพท์บัญญัติใหม่ของ ‘ราชบัณฑิตยสภา’ ที่สะท้อนพฤติกรรมคนในโซเชียลมีเดีย

ราชบัณฑิตยสภา ได้มีการบัญญัติศัพท์ใหม่ในพจนานุกรมศัพท์นิเทศศาสตร์ร่วมสมัย เล่ม 3 ซึ่งหนึ่งในนั้นคือคำว่า “โศกาสาไถย” ซึ่งมีความหมายว่า พฤติกรรมการโพสต์เรื่องน่าเศร้าของตนเองอย่างเกินจริงลงในเครือข่ายสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อเรียกร้องความสงสารและเห็นใจจากผู้อื่น

 

คำ ๆ นี้นั้นมาจากภาษาอังกฤษคำว่า sadfishing ซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางเป็นครั้งแรก เมื่อรีเบคก้า รีดนักแสดงชาวอังกฤษ ซึ่งอาศัยอยู่ในสหรัฐ เขียนบทความในวารสาร Metro พาดพิงโพสต์บนอิสตราแกรมของเคนดัลล์ เจนเนอร์ นางแบบชาวอเมริกัน ที่โพสต์เกี่ยวกับปัญหาสิวของเธอในช่วงเดือน ม.ค. 2562 และถูกใช้ต่อมาจนกระทั่งติดเทรนในโซเชียลมีเดียในเดือน ต.ค. ปีนั้น

 

ในภาษาอังกฤษ คำว่า sadfishing นั้นเป็นการเล่นคำกับคำว่า catfishing ซึ่งหมายถึงพฤติกรรมการสร้างตัวตนปลอมขึ้นมาในโซเชียลมีเดีย โดยมีเจตนาเพื่อการหลอกลวงผู้คนบนอินเตอร์เน็ต ทั้งเพื่อการหลอกลวงเงิน, ความพึงพอใจส่วนตัว หลีกเลี่ยงผลที่ตามมาทางกฎหมาย หรือเพื่อก่อกวน

 

สำหรับในภาษาไทยนั้น เป็นการผสมคำระหว่างคำว่า โศกา ซึ่งหมายความว่า ร้องไห้ กับคำว่า สาไถย ซึ่งหมายความว่า การแสร้งทำให้เขาหลงผิดเข้าใจผิด

ทั้งนี้ หนึ่งในคณะกรรมการบัญญัติศัพท์นิเทศาสตร์ร่วมสมัย ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในวงการวิชาการและวิชาชีพภาคเอกชน ได้กล่าวถึงพจนานุกรมศัพท์นิเทศศาสตร์ร่วมสมัย เล่ม 3 เอาไว้ว่าก่อนหน้านี้ได้มีการเผยแพร่เล่มที่ 1 และ 2 ออกมาแล้ว และหนึ่งในนั้นคือคำว่า จักรวาลนฤมิต (metaverse) ส่วนเล่มที่ 3 นั้นกำลังอยู่ในระหว่างการจัดพิมพ์ และจะออกเผยแพร่เร็ว ๆ นี้

 

ทั้งนี้ในพจนานุกรมศัพท์นิเทศศาสตร์ร่วมสมัยทั้ง 3 เล่ม จะมีคำอธิบายถึงที่มาที่ไปของคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารที่อยู่ในกระแสสังคม มีการอธิบายรากศัพท์ ผลกระทบต่อสังคม และข้อมูลสำคัญอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง 

 

อีกทั้งยังมีศัพท์บัญญัติที่น่าสนใจอีกหลายคำ เช่นคำว่า AI Hallucination, Digital Nomad, Content Creator, Generative AI และอื่น ๆ อีกหลายคำ ที่ทั้งราชการ เอกชน และผู้สนใจทั่วไป สามารถนำไปใช้ได้ 

 

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ราชบัณฑิตยสภามิได้มีการบังคับให้เลือกใช้แต่อย่างใด ประชาชนสามารถเลือกใช้ได้ตามความสะดวกและบริบทที่เหมาะสม การบัญญัติศัพท์นั้นเป็นหนึ่งในหน้าที่หลักของราชบัณฑิตยสภา ที่มักจะเสนอตัวเลือกที่เป็นคำภาษาไทยไว้ด้วย เพื่อเป็นการรณรงค์และรักษาการใช้ภาษาไทย





เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า