NewsmRNA อาจทำลาย ระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ‘หมอธีรวัฒน์’ เตือนวัคซีน ‘ไฟเซอร์-โมเดนา-แอสตรา’ อาจเป็นที่มาของโรคคล้ายวัวบ้า-สมองเสื่อม

mRNA อาจทำลาย ระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ‘หมอธีรวัฒน์’ เตือนวัคซีน ‘ไฟเซอร์-โมเดนา-แอสตรา’ อาจเป็นที่มาของโรคคล้ายวัวบ้า-สมองเสื่อม

 

ศ.นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์บทความลงเฟสบุ๊ก 2 บทความซึ่งประกอบด้วยเรื่อง ผลกระทบจากวัคซีนก่อนและซ้ำต่อจากการติดโควิด และ การเกิดโรคคล้ายวัวบ้า ในมนุษย์ หลังจากติดโควิดหรือหลังได้รับวัคซีน ตามลำดับ โดยมีเนื้อความโดยสรุปดังนี้

 

มีการรายงานถึงอาการเจ็บป่วยของชายอายุ 38 ปี ภายหลังจากที่ได้รับการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ ซึ่งเป็นวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA 143 วัน และพบว่าวัคซีนนั้นส่งผลให้ภูมิคุ้มกันระบบเซลล์ T ด้อยลงไป และทำให้การต่อสู้ต่อเชื้อโรคทั้งหมดตามธรรมชาติบกพร่อง ร่วมกับการเพิ่มจำนวนของ IgG4 และลักษณะความบกพร่องของ T เซลล์ ซึ่งทำให้โคโรน่าไวรัส ซึ่งเป็นมูลเหตุของโรคโควิด-19 แพร่กระจายในเลือดได้นานขึ้นในร่างกาย

 

ซึ่งเป็นที่มาของการตั้งคำถามว่า คนที่สูงวัย อายุ มากกว่า 65 ปี จนถึง 84 ปี ที่ถูกจัดเป็นประเภทกลุ่มเปราะบาง และต้องได้วัคซีนโควิดครบ และต้องมีการฉีดกระตุ้น อยู่ตลอด แท้จริงแล้ว จะได้ประโยชน์จริงหรือไม่ และจะมีผลในทางลบนั่นก็คือทำให้ร่างกายต้านทานเชื้อโรคแย่ลงหรือไม่ 

 

ผลปรากฏว่า ในกลุ่มสูงอายุขึ้นนี้เพื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอายุต่างๆตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป เมื่อฉีดไปตั้งแต่เข็มที่หนึ่งจนกระทั่งหลังเข็มที่สาม ระบบป้องกันภัย innate ที่เป็นตัวสำคัญแนวหน้าป้องกันการรุกรานโดยสามารถทำงานได้ทันทีในระยะเวลา เป็นชั่วโมงและไม่จำเพาะเจาะจงว่าจะต้องเป็นเชื้อไหน แต่ทั้งหมดของระบบดังกล่าวอ่อนแอมากกว่าก่อนฉีด

 

อีกทั้งยังมีรายงานว่า แม้ในคนอายุน้อยก็ได้รับผลกระทบที่คล้ายคลึงกัน จากการที่วัคซีนไฟเซอร์ไปด้อยค่าด้อยค่าระบบป้องกันภัยของร่างกายโดยจะกลายเป็นภาวะเกี่ยวพันลูกโซ่ที่ทำให้ติดโรคง่ายหรือทำให้เชื้อดั้งเดิมเช่นเริม งูสวัด (คือไข้อีสุกอีใสเดิมที่หายแล้วแต่ซ่อนตัวอยู่) กลับปะทุขึ้น ทำให้วัคซีนจำเป็นที่จะต้องได้รับการพัฒนา

 

นอกจากนี้ยังมีรายงานว่ามีการพบโรคคล้ายวัวบ้าในมนุษย์มีตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน (โควิด-19 เกิดขึ้นในปี 2562) และมีความเกี่ยวข้องกันกับการติดโควิด และหลังจากฉีดวัคซีน โดยมีการตั้งข้อสังเกตโดยแพทย์ในต่างประเทศว่า ผู้ติดโรคโควิด ไม่ว่าจะได้รับวัคซีนหรือไม่ก็ตาม มีอาการของโรค CJD (โรคสมองเสื่อม) ภายใน 2 สัปดาห์ และการดำเนินโรค เป็นไปอย่างรวดเร็วและเสียชีวิต ภายในระยะเวลาสองถึงห้าเดือน

 

ซึ่งการป่วยนั้นมีสาเหตุมาจากการที่ตัววัคซีนนั้นมีส่วนที่คล้ายกับส่วนของ โปรตีน พริออน และกระตุ้นให้มีการพับม้วนตัวของโปรตีนปกติให้กลายเป็นโปรตีนบิดเกลียว และ กระตุ้นการเกิดการอักเสบทั้งในร่างกายรวมทั้งในเซลล์สมอง หลายชนิด

 

อีกทั้งยังอธิบายไม่ได้ชัดเจนว่าเพราะบุคคลเหล่านั้นมียีนที่พร้อมที่จะเกิดเป็นโรคคล้ายวัวบ้าอยู่แล้วและการติดโควิดและการได้รับวัคซีนโควิดซึ่งก็คือร่างจำลองของไวรัสโควิดนั่นเอง โดยเฉพาะวัคซีนที่สามารถฝังติดทนนานในร่างกายมนุษย์เช่น แอสตร้า และ modified mRNA

 

“เป็นเรื่องที่ต้องเฝ้าระวังต่อเพราะในกรณีที่เกิดเร็วและตายเร็ว อาจทำให้ไม่นึกถึงโรคนี้ และเป็นไปได้ว่าอาจมีกรณีที่เกิดขึ้นเนิ่นนานกว่านี้และเกิดโรคนี้ปะทุขึ้น การวิเคราะห์ว่าวัคซีนโมเดนา มีส่วนกระตุ้นการเหนี่ยวนำ พรืออน รุนแรงกว่าไฟเซอร์ และวัคซีนรุนแรงกว่าการติดเชื้อโควิดธรรมดา

 

กลไกการเกิดของโรคนี้มาอยู่ในแนวทางเดียวกันกับโรคสมองเสื่อมทุกชนิดที่เราทราบอยู่ในปัจจุบัน อัลไซเมอร์ พาร์กินสัน และอื่นๆ

 

ในประเทศไทย คณะทำงานของเราเท่านั้น พบ จำนวนมากขึ้นอย่างผิดปกติ และสัมพันธ์กับการฉีดmRNA ใน ระยะเวลาไม่นาน ดังเช่นรายงานในต่างประเทศ” ศ.นพ.ธีระวัฒน์ ระบุ

 

อ่านบทความฉบับเต็ม

[1] https://www.facebook.com/thiravat.h/posts/pfbid0A2AgZ278n8socRcqAWgs6p69aB6jtwubaZZpSznW6Vqoh6HToSEACmMPk4BZkXQLl

[2] https://www.facebook.com/thiravat.h/posts/pfbid0idgnjE7g95z3WGhLNZ2yYx39kAadTocLLagEBap8U2a8MKN7gQnEnQfFzMYhU5cwl 





เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า