Newsโซลาร์เซลล์จีนหนีเวียดนาม ไปลงทุนในลาว-อินโดนีเซียแทน หลังสหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าแผงโซลาร์เซลล์

โซลาร์เซลล์จีนหนีเวียดนาม ไปลงทุนในลาว-อินโดนีเซียแทน หลังสหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าแผงโซลาร์เซลล์

ผู้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์ยักษ์ใหญ่ของจีนกำลังลดการผลิตและเลิกจ้างพนักงานในเวียดนาม และหันไปลงทุนในลาวและอินโดนีเซียแทน หลังสหรัฐประกาศขึ้นภาษีนำเข้าแผงโซลาร์เซลล์จาก 4 ประเทศในอาเซียน เพื่อหวังสกัดการทุ่มตลาด

 

ปีที่แล้ว สหรัฐฯ ได้กำหนดภาษีนำเข้าแผงโซลาร์เซลล์จาก 4 ประเทศในอาเซียน ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย และไทย และได้ปรับเพิ่มภาษีนำเข้าดังกล่าวในเดือน ต.ค. หลังจากได้รับการร้องเรียนจากผู้ผลิตในสหรัฐฯ ว่าไม่สามารถแข่งขันกับผลิตภัณฑ์ราคาถูกของจีนได้ ซึ่งพวกเขาอ้างว่าได้รับเงินอุดหนุนอย่างไม่เป็นธรรมจากรัฐบาลจีน

 

ในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา ผู้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์จีนได้ตั้งโรงงานในอินโดนีเซียและลาวกว่า 4 แห่ง และมีแผนที่จะลงทุนสร้างโรงงานอีก 2 แห่ง โรงงานเหล่านี้มีกำลังการผลิตแผงโซลาร์เซลล์รวมกัน 22.9 กิกะวัตต์ (GW) โดยผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่นั้นจะจำหน่ายในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากจีน และเป็นหนึ่งในตลาดที่ทำกำไรได้มากที่สุด โดยราคาเฉลี่ยในสหรัฐฯ สูงกว่าในจีนถึง 40% ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ตามข้อมูลจาก PVinsights

 

จีนคิดเป็น 80% ของกำลังการผลิตโมดูลพลังงานแสงอาทิตย์ ขณะที่ศูนย์กลางการส่งออกอื่นๆ ในเอเชียคิดเป็นกำลังการผลิตส่วนที่เหลือเกือบ 20% ตามข้อมูลของ SPV Market Research ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากเมื่อสองทศวรรษก่อน ซึ่งสหรัฐฯ เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนี้

 

ขณะเดียวกัน การนำเข้าอุปกรณ์พลังงานแสงอาทิตย์ของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 3 เท่า นับตั้งแต่สหรัฐเริ่มกำหนดภาษีนำเข้าในปี 2012 โดยแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 15,000 ล้านดอลลาร์ (5.06 แสนล้านบาท) เมื่อปีที่แล้ว แม้ว่าแทบจะไม่มีการนำเข้าโดยตรงจากจีนในปี 2023 แต่ประมาณ 80% นำเข้ามาจากเวียดนาม ไทย มาเลเซีย และกัมพูชา ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงานของบริษัทจีน 

 

ขณะที่การนำเข้าจากอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า สู่ระดับ 246 ล้านดอลลาร์ (8.3 พันล้านบาท) และการนำเข้าจากลาวซึ่งแทบจะเป็นศูนย์ในปี 2023 เพิ่มขึ้นเป็น 48 ล้านดอลลาร์ (1.62 พันล้านบาท) ณ เดือน ส.ค. 2024 

 

(1 ดอลลาร์ = 33.74 บาท)



เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า