Articlesบทบรรณาธิการแผนแยกประเทศของขบวนการ BRN สร้างวาทะกรรม “ชุดมลายู” ยุยงปลุกปั่นเยาวชน จ่อก่อการร้าย เพื่อป้ายสีให้ร้ายทางการไทย

แผนแยกประเทศของขบวนการ BRN สร้างวาทะกรรม “ชุดมลายู” ยุยงปลุกปั่นเยาวชน จ่อก่อการร้าย เพื่อป้ายสีให้ร้ายทางการไทย

จากสถานการณ์ความไม่สงบในชายแดนใต้ที่เข้มข้นขึ้นในช่วงเดือนที่ผ่านมา ได้มีรายงานข่าวคราวความมั่นคงจากในพื้นที่ว่า

 

ปัจจุบันขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี หรือ BRN ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภายในองค์กร โดยมีแกนนำใหม่ที่มาจากฝ่ายหัวรุนแรงแบบสุดโต่ง

 

นอกจากนี้ขบวนการ BRN ยังมีความพยายามในการบิดเบือนคดีที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน. ภาค 4 สน.) ทำการฟ้องร้องดำเนินคดีในมาตรา 116 ต่อคณะแกนนำในการจัดงานและร่วมทำกิจกรรม 9 ราย  

 

โดยมีการสร้างกระแสบิดเบือนว่า “เจ้าหน้าที่ขัดขวางและทำลายการสืบทอดวัฒนธรรมชาวมลายู” และมีการสร้างวาทะกรรมว่า “คดีชุดมลายู” 

 

ทั้ง ๆ ที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง มีพยานและหลักฐานว่า ภายในงานดังกล่าวนั้น มีเนื้อหาที่มีลักษณะเป็นการยุยงปลุกปั่น มีการแสดงธงของกลุ่มขบวนการแบ่งแยกดินแดน กลุ่ม BRN 

 

รวมทั้งมีการกล่าวถ้อยคำบนเวทีอันมีลักษณะว่า “มีศัตรูมาทำลายชาติมลายูปาตานีทำให้เสียเอกราช เยาวชนต้องรวมตัวกันทำให้หมดไปซึ่งการถูกกดขี่ข่มเหง” การกล่าวถ้อยคำว่า “วันรายอที่ 3 เป็นวันเยาวชนแห่งชาติปาตานี” รวมทั้งกิจกรรมร้องเพลงปลุกใจ มีเนื้อหาทำนองให้เยาวชนร่วมกันปฏิวัติกอบกู้เอกราชรัฐปาตานีคืนมา 

 

 

ขณะที่การเคลื่อนไหวของนักการเมืองสำคัญในพื้นที่อย่าง กัณวีร์ สืบแสง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม และ รอมฎอน ปันจอร์ สส. บัญชีรายชื่อพรรคประชาชน ได้ออกมาแสดงปฏิกริยาต่อคดีความดังกล่าวดังนี้

 

วันที่ 25 พ.ย. 2567 สส.กัณวีร์ได้ออกมากล่าวถึงคดีชุดมลายูว่า นักกิจกรรมทั้ง 9 คนไม่ได้หลบหนี พร้อมจะไปพิสูจน์ความบริสุทธิ์ตามขั้นตอนของกฎหมาย อย่างที่เคยย้ำไปว่า ดนตรี กวี และการแต่งกาย ไม่ใช่อาชญากรรม และการดำเนินการของทางการนั้น เข้าข่ายการฟ้องปิดปากประชาชน (SLAPP) [2]

 

ด้าน สส.รอมฎอน ได้ทำการอภิปรายในสภาฯ เมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2568 ว่ามีการให้กำลังใจแก่ว่าที่ผู้ต้องหาทั้ง 9 รายในคดีชุมนุมชุดมลายูที่ศาล และกล่าวว่าการดำเนินการของทางการนั้น เป็นการจำกัดเสรีภาพของประชาชน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อกระบวนการสันติภาพในจังหวัดชายแดนใต้

 

พร้อมทั้งยังตั้งคำถามไปยังนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการ กอ.รมน.ว่าต้องการจะสร้าง หรือทำลายสันติภาพกันแน่ [3]

 

 

โดยฝ่ายความมั่นคงได้ทำการคาดการณ์สถานการณ์ในอนาคตว่า BRN อาจมีความพยายามสร้างให้เกิดประวัติศาสตร์หรือเงื่อนไขความขัดแย้งขึ้นใหม่ โดยมีสมมุติฐานที่สำคัญ ดังนี้

 

[ช่วงก่อนสิ้นเดือนรอมฎอน] 

 

อาจจะมีการปลุกปั่นให้เยาวชนลุกขึ้นมายั่วยุ หรือก่อนเหตุต่อเจ้าหน้าที่ โดยหวังให้เจ้าหน้าที่ตอบโต้ด้วยความรุนแรง หรือเกินกว่าเหตุ เพื่อให้เกิดความรู้สึกต่อต้านการบังคับใช้กฎหมายเจ้าหน้าที่ของทางการ เพื่อเป็นการดึงดูดให้เยาวชนเข้าร่วมกับฝ่าย BRN ในช่วงหลังเดือนรอมฎอน

 

[ช่วงหลังสิ้นเดือนรอมฎอน]

 

จะมีความเคลื่อนไหวเพื่อให้เกิดกระแสต่อต้านการดำเนินคดีต่อนักกิจกรรมทั้ง 9 คน เพื่อการปลุกระดมให้เกิดกระแสการต่อต้านอำนาจรัฐ และต่อต้ากระบวนการยุติธรรมของรัฐเพิ่มมากขึ้น เช่นการบิดเบือนว่า การดำเนินการของรัฐ เป็นการฟ้องปิดปากประชาชน และเป็นการทำลายอัตลักษณ์ และการสืบสานวัฒนธรรมมลายู

 

ทั้งนี้ มีการตั้งสมมติฐานที่เลวร้ายที่สุด (Worst Case Scenario) ว่าอาจมีการก่อเหตุรุนแรงต่อกลุ่มเยาวชนในระหว่างการชุมนุม เช่น การลอบวางระเบิด เพื่อบิดเบือนว่าเยาวชนมุสลิมเสียชีวิต หรือถูกสังหาร โดยเจ้าหน้าที่ในระหว่างการจัดกิจกรรม

 

เพื่อเป็นการสร้างเงื่อนไขในการสร้างความขัดแย้งรอบใหม่ เพื่อปลุกระดมให้ชาวมุสลิมลุกขึ้นมาต่อต้านอำนาจรัฐอย่างรุนแรง ซึ่งจะนำสู่การขับเคลื่อนการกำหนดใจตนเอง (Right to Self-determination:RSD) โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการแบ่งแยกดินแดนในอนาคต

 

ซึ่งหากมีการก่อเหตุความรุนแรงดังกล่าวเกิดขึ้นจริง ก็จะเป็นการทำลายภาพลักษณ์ของประเทศไทยในเวทีประชาคมโลก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศมุสลิม และจะเป็นการสร้างเงื่อนไขให้องค์กรระหว่างประเทศเข้ามาแทรกแซง ในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้

อ้างอิง :

 

[1] กอ.รมน. ภาค 4 สน., “สร้างความเข้าใจอีกครั้ง!!… ฟ้อง 9 แกนนำ ในคดียุยงปลุกปั่น ไม่ใช่เพราะแต่งกายชุดมลายู”, 22 ม.ค. 2568, https://www.southpeace.go.th/?p=126215 

 

[2] The Standard, “กัณวีร์หวัง 9 นักกิจกรรมคดีชุดมลายูหาดวาสุกรีได้รับความเป็นธรรม ก่อนอัยการนัดสั่งฟ้องหรือไม่ 26 พ.ย.”, 25 พ.ย. 2567, https://thestandard.co/kannavee-hopes-justice-for-9-malayu-activists/

 

[3] Romadon Panjor – รอมฎอน ปันจอร์, https://www.facebook.com/watch/?v=1367332817976789 

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า