News“วางแผนการเงิน 101 สมรสเท่าเทียม การเงินเท่าทัน” ธปท. แนะนำวิธีการวางแผนการเงินสำหรับคู่สมรสเท่าเทียม

“วางแผนการเงิน 101 สมรสเท่าเทียม การเงินเท่าทัน” ธปท. แนะนำวิธีการวางแผนการเงินสำหรับคู่สมรสเท่าเทียม

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยแพร่บทความเรื่อง “วางแผนการเงิน 101: สมรสเท่าเทียม การเงินเท่าทัน” โดยระบุว่ากฎหมายสมรสเท่าเทียมที่บังคับใช้ในประเทศไทย ทำให้คู่รักทุกเพศสามารถจดทะเบียนสมรสและได้รับสิทธิตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม การแต่งงานและการวางแผนครอบครัวล้วนเกี่ยวข้องกับเรื่องเงิน การวางแผนทางการเงินจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ชีวิตคู่มีความมั่นคง

 

ธปท. จึงแนะนำขั้นตอนการวางแผนทางการเงินสำหรับคู่รัก โดยเริ่มจากการออมเงินและใช้จ่ายอย่างสมเหตุสมผล จากนั้นเรียนรู้วิธีจัดสรรรายได้ให้เพียงพอต่อเป้าหมายและค่าใช้จ่าย เมื่อมีครอบครัว ภาระทางการเงินจะเพิ่มขึ้น จึงต้องวางแผนให้ดี รวมถึงการวางแผนเกษียณอายุ ซึ่งการวางแผนทางการเงินจะช่วยให้คู่รักมีความพร้อมและมั่นคงทางการเงินในทุกช่วงของชีวิต

 

ธปท. ระบุถึงพื้นฐานวิธีการจัดการเงินแบบคนมีคู่ดังนี้

 

  1. เปิดใจคุยเรื่องเงินกันแต่เนิ่น ๆ ทั้งเรื่องทรัพย์สิน หนี้สิน ภาระอื่น ๆ ตกลงวิธีจัดการเงินว่าจะแยกหรือรวม หรือแยกครึ่งรวมครึ่ง เพราะทรัพย์สินที่หามาได้หลังจากการจดทะเบียนสมรสจะกลายเป็นสินสมรส คือมีความเป็นเจ้าของร่วมกันในทรัพย์สินนั่นเอง

 

  1. เลือกวิธีที่เหมาะสมและทำได้ (ไม่มีสูตรสำเร็จสำหรับทุกครอบครัว)

  2. ทำตามกติกาที่ตั้งไว้อย่างมีวินัย

 

  1. หากรู้สึกกดดันหรือทำตามที่ตกลงกันไว้ไม่ได้ ให้เปิดใจคุยกันใหม่


ส่วนคู่ไหนที่ตกลงปลงใจที่จะแยกออกมาอยู่ด้วยกัน ก็อาจมีค่าใช้จ่ายตามมาทั้งก้อนเล็กและก้อนใหญ่ ตั้งแต่ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่ารักษาพยาบาล ไปจนถึงการซื้อทรัพย์สินร่วมกัน เช่น ที่อยู่อาศัย ยานพาหนะ ที่อาจจะกู้ร่วมกัน สิ่งที่ตามมาคือค่าใช้จ่ายและดอกเบี้ย ที่ต้องศึกษาให้ดีก่อนตัดสินใจทำธุรกรรมใด ๆ

 

นอกจากนี้ หากคู่รักหลาย ๆ คู่ที่ต้องการอุปการะบุตร ก็ต้องเตรียมเงินเพื่อรองรับค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูบุตรไว้ด้วย ทั้งค่าใช้จ่ายตามปัจจัย 4 ค่าเทอมเพื่อการศึกษา และค่าใช้จ่ายจิปาถะอื่น ๆ แต่หลาย ๆ ท่านก็อาจมีภาระค่าใช้จ่ายด้านการดูแลพ่อและแม่ที่สูงวัยมากขึ้นด้วย

 

ธปท. แนะนำให้มีการทำ แผนใช้เงิน (budget planner) ซึ่งเป็นการทำบัญชีประเมินรายรับ และรายจ่ายและนำผลรวมรายรับและรายจ่ายประมาณการมาเปรียบเทียบกัน โดยถ้าหากว่า

– รายรับ > รายจ่าย : เป็นแผนใช้เงินได้ เพราะรายรับเพียงพอต่อรายจ่ายและยังเหลือเงินเก็บเผื่อฉุกเฉินด้วย แต่ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าจดรายการครบถ้วนหรือไม่

 

– รายรับ = รายจ่าย : สามารถเป็นแผนใช้เงินได้ หากมีเงินออกเผื่อฉุกเฉินไว้แล้ว แต่หากท่านใดที่ยังไม่มีก็ควรออมเงินสำหรับเผื่อฉุกเฉินไว้ด้วย เพราะหากมีสถานการณ์ฉุกเฉินอาจทำให้เกิดปัญหาได้ เช่น ค่าซ่อมรถ ค่ารักษาพยาบาล

 

– รายรับ < รายจ่าย : ไม่สามารถใช้เป็นแผนใช้เงินได้ เพราะรายจ่ายเกินรายรับที่มี หากใช้จ่ายแบบนี้ไปเรื่อย ๆ อาจเข้าสู่วังวนหนี้ เสี่ยงที่จะก่อหนี้ใหม่ไปเรื่อย ๆ ต้องเร่งจัดการเงินอย่างจริงจัง เริ่มจากการลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกก่อน และอาจหารายได้เพิ่มเติม

ทั้งนี้สามารถจัดสรรการออมตามความสามารถและความเหมาะสมของแต่ละท่านได้

ธปท. เน้นย้ำว่า ถึงแม้ว่ากฎหมายสมรสเท่าเทียมนั้น จะทำให้หลายคนมีความสุขกับการได้ใช้ชีวิตคู่อย่างถูกกฎหมาย และได้รับสิทธิต่าง ๆ เหมือนกับคู่รักชายหญิง แต่การวางแผนการเงินที่ดี ก็ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความมั่นคงให้แก่ชีวิตคู่ จึงขอให้คู่สมรสเท่าเทียมมีการวางแผนการเงินที่ดีในครอบครัว



บทความที่ ธปท. แนะนำให้อ่านเพิ่มเติม

[1] วางแผนการเงิน 101 : “สมรสเท่าเทียม” การเงินเท่าทัน (ต้นฉบับ) – https://www.bot.or.th/th/research-and-publications/articles-and-publications/bot-magazine/Phrasiam-68-2/financialwisdom-marriage-equality.html

[2] แผนใช้เงิน – https://www.bot.or.th/th/satang-story/money-plan/budgeting.html

[3] การออม – https://www.bot.or.th/th/satang-story/money-plan/saving.html

[4] 80 ข้อที่ควรมี ถ้าอยาก HAPPY เรื่องเงิน – https://www.bot.or.th/th/research-and-publications/articles-and-publications/bot-magazine/Phrasiam-64-6/Financial-Wisdom-64-6.html 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า