
“คุณเป็นคนเหยียดผิว” ศาสตราจารย์ผิวสีถูกยัดเยียดข้อหา เพียงเพราะไม่อนุญาตให้นักศึกษา ใส่เสื้อมีฮู้ด-กางเกงขาสั้นเข้าคลาส
ศาสตราจารย์ Derrick LeFlore แห่งมหาวิทยาลัย North Carolina Agricultural and Technical University โพสต์แผนการสอนบนทวิตเตอร์ ว่าไม่อนุญาตให้นักศึกษาสวมใส่หมวกบอนเน็ต ผ้าโพกหัว เสื้อฮู้ด กางเกงขาสั้นผ้ายืด กางเกงขาสั้นเสมอหู เข้าห้องเรียน
ซึ่งโพสต์ดังกล่าวได้สร้างความไม่พอใจกับผู้ใช้ทวิตเตอร์จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับประเด็นที่ไม่อนุญาตให้ใส่เสื้อมีฮู้ด โดยระบุว่าเป็นการต่อต้านคนผิวดำ บ้างก็อ้างว่าผู้คนยังสวมใส่เสื้อฮู้ดไปทำงานกันเลย
เหตุการณ์นี้นำไปสู่การที่กลุ่มผู้ใช้โซเชียลร้องเรียนว่าเป็น ‘การต่อต้านคนผิวดำ’ แม้ว่าเจ้าของรายวิชาเองก็เป็นคนผิวดำเช่นกัน และภายหลังโพสต์เกี่ยวกับกฎระเบียบการแต่งกายที่ระบุอยู่ในแผนการสอนรายวิชา ( Course Syllabus ) วิทยาการคอมพิวเตอร์ของ อ.Leflore ก็ได้ถูกลบไปจากโซเชียลมีเดียด้วย
นอกจากนี้ยังมีการให้ความเห็นเรื่องการใช้ภาษาไม่เหมาะสม โดยระบุว่า ศาสตราจารย์ไม่ควรใช้คำว่ากางเกงขาสั้นเสมอหู (coochie cutter) ในเอกสารทางการ โดยบางความเห็นยังระบุด้วยว่าเป็นการล่วงละเมิดทางเพศ
ขณะที่ผู้ใช้ทวิตเตอร์ส่วนหนึ่งเห็นด้วยกับศาสตราจารย์คนดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่าเขาแค่พยายามปลูกฝังเรื่องความเป็นมืออาชีพให้กับนักศึกษาด้วยการเลือกใช้ภาษาระดับกันเองที่เขาคิดว่าจะเชื่อมโยงกับนักศึกษาได้
ทั้งนี้ เสื้อมีฮู้ดมีบทบาทสำคัญทางการเมืองหลังจากเหตุการณ์ Trayvon Martin วัยรุ่นชายผิวดำวัย 17 ปี ที่สวมเสื้อฮู้ด ถูกยามอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน (Neighborhood watchman) ยิงเสียชีวิตระหว่างเดินทางกลับบ้าน เมื่อปี 2012 เนื่องจากคิดว่าเป็นคนร้ายที่จะเข้ามางัดแงะขโมยของในหมู่บ้าน
ระบบใหม่เพื่อผู้หญิง Grab ทดสอบฟีเจอร์ใหม่ที่จับคู่คนขับผู้หญิงกับผู้โดยสารผู้หญิง เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับทั้งคนขับและผู้ใช้บริการ
ห้ามใส่ชุดมุสลิม รัฐบาลฝรั่งเศสเตรียมแบนการใส่ชุด “อาบายะห์” ของมุสลิมในโรงเรียนรัฐ ชี้โรงเรียนต้องเป็นพื้นที่ปลอดศาสนา
ยืนกราน ไม่งดเว้นให้คนไทย เกาหลี ชี้ไม่มีแผนยกเว้นการลงทะเบียนออนไลน์ (K-ETA) แม้ยอดนักท่องเที่ยวไทยในเกาหลีใต้ลดฮวบก็ตาม
ศิราวุธ ภุมมะกสิกร
อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม