Newsเดินหน้าท้าชน พีระพันธุ์เปิด 6 แนวรบ ชนกลุ่มทุนพลังงาน-ก.พลังงาน-คลัง

เดินหน้าท้าชน พีระพันธุ์เปิด 6 แนวรบ ชนกลุ่มทุนพลังงาน-ก.พลังงาน-คลัง

ภายหลังจากที่พรรคโอกาสใหม่ ซึ่งเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของอดีตข้าราชการชั้นผู้ใหญ่หลายกระทรวง โดยมีกระแสข่าวว่า กลุ่มทุนของพรรคโอกาสใหม่นั้นเป็นกลุ่มทุนเดียวกันกับของพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ซึ่งทำให้มีกระแสข่าวตามมาว่า พรรคโอกาสใหม่นั้น จะดึงตัว สส. จากพรรคการเมืองอื่น โดยเฉพาะ รทสช. มาเข้าร่วม

นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค หัวหน้าพรรค รทสช. ในฐานะรองนายกรัฐมนตรี และ รมว. พลังงาน ได้ลงนามในคำสั่ง 5 ฉบับไล่ ๆ กันเพื่อระงับการดำเนินการโครงการภายในกระทรวงพลังงาน 5 ฉบับ ทำให้เกิดข้อสงสัยตามมาว่า นายพีระพันธุ์กำลังเปิดศึกกับกลุ่มทุนพลังงาน และรัฐบาลหรือไม่

 

และนอกจากนี้ ในช่วงที่ผ่านมา ในการนัดรับประทานอาหารเย็นร่วมกันระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล นายพีระพันธุ์ไม่ได้ไปเข้าร่วมเลย แต่ส่งนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการพรรค และ รมว. พลังงานไปเข้าร่วมแทน อีกทั้งนายพีระพันธุ์นั้น ไม่เคย เข้าร่วมการแถลงข่าวกับนายกรัฐมนตรี มาตั้งแต่สมัยรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสินแล้วด้วย อีกทั้งยังแสดงท่าทีว่าไม่เห็นด้วยกับนโยบายด้านพลังงานของพรรคเพื่อไทยอีกด้วย

ทั้งหมดนี้ ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า นายพีระพันธุ์กำลังเปิดศึกการเมืองรอบด้าน ทั้งศึกภายนอกและศึกภายในพรรคหรือไม่ โดยมีแนวรบทั้งหมด 6 เรื่องดังต่อไปนี้

ระงับการสรรหากรรมการสำนักงานกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)

คณะกรรมการ กกพ. ชุดปัจจุบันนั้น มีอยู่ 4 ท่านที่ได้หมดวาระลงไปตั้งแต่วันที่ 30 ก.ย. ที่ผ่านมาแล้ว ซึ่งจะต้องมีการสรรหาคณะกรรมการ (คกก.) ชุดใหม่ขึ้นมาทดแทน แต่ในระหว่างนี้ ทั้ง 4 ท่านจะต้องทำหน้าที่รักษาการณ์ต่อไปก่อนจนกว่าจะได้กรรมการชุดใหม่

 

อย่างไรก็ดี 1 ใน 4 นั้น ไม่สามารถ ทำหน้าที่รักษาการณ์ได้ เนื่องจากมีอายุครบ 70 ปี จึงทำให้ คกก. กกพ. นั้นเหลืออยู่เพียงแค่ 6 คนเท่านั้น

 

ซึ่งนายพีระพันธุ์ได้เสนอ คกก. สรรหา คกก. กพพ. ชุดใหม่ต่อ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปแล้ว และ ครม. ได้ลงมติเห็นชอบใน คกก. ชุดใหม่ที่นายพีระพันธุ์เสนอขึ้นไปแล้ว เมื่อวันที่ 29 ต.ค. ที่ผ่านมา แต่ทว่านายพีระพันธุ์กลับสั่งให้ระงับการแต่งตั้ง คกก. ชุดนี้ ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้นกันแน่

2 ระงับการจัดซื้อจัดจ้างงานจ้างเหมาขุด-ขนถ่านหินที่เหมืองแม่เมาะ ของ กฟผ.

 

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้เปิดประมูลโครงการจัดซื้อจัดจ้างงานจ้างเหมาขุด-ขนถ่านหินที่เหมืองแม่เมาะ จ. ลำปาง ไปแล้ว โดยมีบริษัท สหกลอิควิปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ชนะการประมูลด้วยมูลค่าสัญญา 7,170 ล้านบาท

ซึ่งกรณีนี้นั้น บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) (ITD) ได้ยื่นหนังสือคัดค้านการประมูลในครั้งนี้ 

 

ทั้งนี้นายพีระพันธุ์ได้มีหนังสือคำสั่งตรงไปยัง ผู้ว่า กฟผ. เพื่อให้มีการระงับสัญญาฉบับดังกล่าว โดยอ้างว่า พลโท เจียรนัย  วงศ์สอาด หนึ่งใน คกก. กฟผ. มีความคิดเห็นคัดค้านการประมูลในครั้งนี้ จึงขอให้ระงับโครงการนี้เอาไว้ก่อน

ซึ่งกรณีนี้ทำให้เกิดคำถามว่า ในเมื่อง พลโท เจีนรนัยนั้น เป็นหนึ่งในบอร์ดของ กฟผ. อยู่แล้ว เหตุใดจึงไม่ดำเนินการพูดคุยกันให้จบในบอร์ด แต่ให้นายพีระพันธุ์เข้ามาแทรกแซงทำไม


อีกทั้งการส่งหนังสือตรงไปยังผู้ว่า กฟผ. นั้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ ข้ามขั้นตอน ไม่มีการทำหนังสือผ่านบอร์ด กฟผ. ซึ่งมี ดร. ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธาน ทำให้มีการตั้งคำถามว่า เหตุใดจึงไม่ดำเนินการส่งเรื่องผ่านประธานบอร์ด เพื่อให้บอร์ดเป็นผู้ดำเนินการ

 

ทั้งนี้ กฟผ. ได้ทำหนังสือโต้แย้งกลับไปยังนายพีระพันธุ์ โดยระบุว่าหากโครงการนี้ดำเนินการล่าช้า ก็จะกลายเป็นการสร้างภาระด้านค่าไฟฟ้าให้แก่ประชาชน โดยอาจจะทำให้ค่าฟ้านั้นเพิ่มสูงขึ้นยูนิตละ 9 สตางค์

 

3 ระงับประมูลการรับซื้อพลังงานไฟฟ้าในกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง 3,600 เมกะวัตต์

 

มาตรการส่งเสริมการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน หรือ Feed-in-Tarrif (Fit) นั้นเป็นมาตรการที่มีการดำเนินการมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทรโอชาแล้ว โดยให้มีการส่งเสริมการผลิตพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน

ซึ่งมาตรการนี้นั้นกำลังเข้าสู่เฟสที่ 2 ซึ่งมีกำลังผลิต 3,600 เมกะวัตต์ ซึ่งเงื่อนไขของผู้เข้าร่วมการประมูลนั้น คือผู้ที่พลาดโอกาสจากเฟสที่ 1 แต่นายพีระพันธุ์กลับสั่งให้มีการทบทวน และจะให้เปลี่ยนไปใช้รูปแบบการประมูลทั่วไปแทน

4 ขัดแย้งเรื่องการเก็บภาษีคาร์บอนกับกระทรวงการคลัง

 

กระทรวงการคลังเสนอให้มีการจัดเก็บภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) โดยมีกรมสรรพสามิตเป็นผู้จัดทำรายละเอียด ซึ่งสาระสำคัญของการจัดเก็บภาษีคาร์บอนนั้น คือการใช้มาตรการทางภาษี เพื่อให้เกิดการใช้สินค้าที่สร้างภาวะโลกร้อนลดลง ซึ่งนั่นย่อมรวมไปถึงการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง

มีรายงานข่าวว่า ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่หลายคนในกระทรวงพลังงานนั้น ต่างก็เห็นชอบในร่างของกรมสรรพสามิต แต่นายพีระพันธุ์ไม่เห็นด้วย ซึ่งนี่ทำให้เรื่องภาษีคาร์บอนนั้นยังคงค้างคา ไม่ผ่านเสียที ทั้งนี้มีการคาดการณ์กันว่า นายพีระพันธุ์เห็นว่าควรไปเน้นเก็บสินค้าที่มีการปล่อยคาร์บอนในปริมาณที่สูงแทน

5 คัดค้านการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ไทย-กัมพูชา

พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชานั้น เป็นปัญหาที่ค้างคากันมาหลายสิบปีแล้ว โดยเรื่องนี้ได้เริ่มมีการลงนามใน MOU 2543 ในสมัยนายชวน หลีกภัยเป็นนายกรัฐมนตรี ก่อนที่จะมีการลงนามใน MOU 2544 ในรัฐบาลของนายทักษิณ ชินวัตร และรัฐบาล น.ส. แพทองธาร ต้องการจะสานต่อ

ซึ่งมีรายงานว่า นายพีระพันธุ์นั้น ไม่เห็นด้วยกับการเจรจาผ่าน MOU 2544 และตอบคำถามผู้สื่อข่าวในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ว่า ไม่ทราบ ไม่ได้เกี่ยวข้อง ทั้ง ๆ ที่กระทรวงพลังงานควรจะเป็นหนึ่งในแกนหลักในการเจรจา เนื่องจากว่าภายใต้พื้นที่ทับซ้อนดังกล่าวนั้น มีแหล่งปิโตรเลียมจำนวนมากรอการขุดมาใช้อยู่

 

นอกจากนี้มีรายงานว่า ในการรับประทานอาหารค่ำของพรรคร่วมรัฐบาลครั้งที่ผ่านมานั้น นายพีระพันธุ์ นอกจากจะไม่ไปเข้าร่วมแล้ว ยังได้ส่งหนังสือแจ้ง น.ส. แพทองธารว่าให้ดำเนินเรื่อง MOU44 ตามกฎหมายด้วย

6 ชิงสิทธิในการกำหนดอัตราภาษีน้ำมันจากกระทรวงการคลัง

 

นายพีระพันธุ์ พยายามที่จะแก้ไขโครงสร้างราคาน้ำมันมานานแล้วในหลายด้าน ผ่านการแก้ไข พรบ. ควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง โดยเสนอให้มีการยกเลิกการอ้างอิงราคาน้ำมันสิงคโปร์ แต่ให้ไปอิงราคาน้ำมันที่ดูไบแทน อีกทั้งยังเสนอให้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างต้นทุนในการคิดราคาน้ำมันอีกด้วย

 

อย่างไรก็ดี นายพีระพันธุ์ได้ตั้งข้อเรียกร้องให้กระทรวงพลังงาน มีอำนาจในการพิจารณาอัตราภาษี ซึ่งในปัจจุบันกระทรวงการคลัง โดยกรมสรรพสามิตเป็นผู้มีอำนาจในการกำหนดอัตราภาษีน้ำมันอยู่

 

ทั้งหมดนี้นั้น จะเห็นได้ว่า นายพีระพันธุ์นั้นได้เปิดศึกการเมืองเอาไว้รอบด้าน ต่อสู้กับกลุ่มทุนพลังงาน ซึ่งเป็นกลุ่มทุนที่ให้การสนับสนุน รทสช. อยู่ จนทำให้กลุ่มทุนดังกล่าวหันไปให้การสนับสนุนพรรคโอกาสใหม่ เตรียมดึง สส. รทสช. เพื่อสลายอำนาจของนายพีระพันธุ์

และอาจจะเกิดปัญหาความขัดแย้งกับกระทรวงพลังงานที่ตนเองเป็น รมว. อยู่ด้วย จากการมีหนังสือคำสั่งตรงไปยังผู้ว่า กฟผ. โดยไม่ผ่านประธานบอร์ด กฟผ. ตามลำดับขั้นตอน ทั้ง ๆ ที่ประธานบอร์ดนั้นเองก็เป็นปลัดกระทรวงการคลัง ข้าราชการประจำหมายเลข 1 ของกระทรวง

 

อีกทั้งยังมีความขัดแย้งกับกระทรวงการคลัง ซึ่งพรรคเพื่อไทยควบคุมอยู่ ในประเด็นของอำนาจในการกำหนดอัตราภาษีน้ำมัน และภาษีคาร์บอน และ นายพีระพันธุ์นั้น ยังมีความขัดแย้งกับรัฐบาลในเรื่อง MOU 2544 ซึ่งการที่กระทรวงพลังงาน ไม่เข้าร่วมการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนนั้น อาจจะทำให้ MOU 2544 นั้นเดินหน้าต่อไปไม่ได้ 

 

จึงอาจกล่าวได้ว่า ในเวลานี้ นายพีระพันธุ์นั้นกำลังเปิดศึกรอบด้านกับกลุ่มทุนพลังงาน, ข้าราชการประจำกระทรวงพลังงาน และกระทรวงการคลังที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำอยู่ก็เป็นไปได้




เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า