Articlesเปิดโปง ‘ป่ารอยต่อ’ ผิดตรงไหน? รีวิวหมายจับ ‘โรม รังสิมันต์’ มีการกลั่นแกล้งหรือไม่?

เปิดโปง ‘ป่ารอยต่อ’ ผิดตรงไหน? รีวิวหมายจับ ‘โรม รังสิมันต์’ มีการกลั่นแกล้งหรือไม่?

เมื่อไม่กี่วันก่อนหน้านี้ก็ได้เป็นประเด็นดราม่าทางการเมืองอันร้อนแรงอีกครั้งกับกรณีที่ ส.ส. Rangsiman Rome – รังสิมันต์ โรม บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกลได้ถูกออกหมายจับข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 จากการอภิปรายไม่ไว้วางใจ กรณี #มูลนิธิป่ารอยต่อฯ ของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เมื่อต้นปี 2563

ส.ส.รังสิมันต์ ได้กล่าวหาผ่านเฟซบุ๊คของตัวเองว่า การออก #หมายจับ ตนนั้นเป็นกระบวนการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และต้องการกลั่นแกล้งเขาที่ไปอภิปรายเรื่องมูลนิธิป่ารอบต่อ ฯ นอกจากนั้นยังอ้างว่ามีการเร่งคดีที่จะดำเนินคดี โดยการบีบตำรวจชั้นผู้น้อยให้ดำเนินคดีกับเขา เพื่อที่จะสั่งขังเขาและร้องต่อศาลรัฐธรรมนญ เพื่อตีความให้หลุดพ้นจากความเป็น ส.ส.

ในแง่ข้อกฎหมาย ทั้งตัว #รังสิมันต์ รวมถึงเพจ #iLaw [1] #พรรคก้าวไกล [2] แม้กระทั่งปริญญา เทวานฤมิตรกุล Prinya Thaewanarumitkul [3] อาจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่อยู่ฝ่ายม็อบตลอดเวลาที่ผ่านมา ก็พร้อมใจกันออกมาแก้ตัวว่าต่าง ๆ นานา ที่การออกหมายจับนั้นไม่ชอบเพราะไม่มีเหตุผลเพียงพอในการออกหมายจับ และการออกหมายเรียกในครั้งแรกนั้นไม่ชอบเพราะออกมาในสมัยประชุมรัฐสภาจึงได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญมาตรา 125 และรังสิมันต์มีข้อแก้ตัวอันควรในการไม่ไปตามหายเรียกครั้งที่สอง

ถึงอย่างไรก็ดีทางเพจ The Structure ได้ไปตรวจสอบทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายมาแล้วพบว่า มีการบิดเบือนข้อเท็จจริงรวมถึงการจงใจละไม่พูดถึงข้อกฎหมายบางข้อด้วยจากพวกเขา ซึ่งทางเพจจะหักล้างข้อกล่าวหาและอธิบายข้อกฎหมายตามประเด็นดังนี้

ข้ออ้างเรื่องการออกหมายจับนั้นไม่ชอบ

ก่อนอื่นเลย จะดูว่าชอบหรือไม่ก็ต้องไปดูก่อนว่าหลักกฎหมายที่ระบุไว้เขาว่ายังไง ซึ่งระบุไว้ใน #ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66 ว่าเหตุที่จะออกหมายจับได้มีดังต่อไปนี้

(1) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้ทำความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี หรือ
(2) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้ทำความผิดอาญาและมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น

ถ้าบุคคลนั้นไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หรือไม่มาตามหมายเรียกหรือตามนัดโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควร ให้สันนิษฐานว่าบุคคลนั้นจะหลบหนี”

ตามหลักที่วางไว้นั้น จะเห็นว่ามี2 เหตุเท่านั้นที่ให้ออกหมายจับได้ โดยเข้าแค่เหตุเดียวตามอนุมาตรา 1หรือ 2 นี้ก็เพียงพอแล้ว ดังนั้นแม้โทษจำคุกอย่างสูงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 เรื่องหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา จะต่ำกว่าสามปีไม่เข้าตาม(1) ก็ยังออกหมายจับได้ตาม(2) ดังนั้นตามประเด็นในคดีนี้หากเข้าเกณฑ์(2) ว่า “น่าจะได้ทำความผิดอาญาและมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนี” สองประการนี้ก็ออกหมายจับได้ ซึ่ง ในวรรคสองของมาตรานี้ก็ยังได้ขยายเพิ่มว่า หากไม่มาตามหมายเรียกโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควร ให้สันนิษฐานว่าจะหลบหนี

ในทางปฏิบัติเจ้าพนักงานมักจะออกหมายเรียกสองครั้งก่อนเพื่ออ้างได้แน่ชัดว่ามีเหตุอันสมควรจะหลบหนี ถึงอย่างไรก็ดี พ.ต.อ.เติมเผ่า สิริภูบาล ผกก.สน.สุทธิสาร เคยได้ให้ความรู้ในการออกหมายจับในคดีหนึ่งว่า การที่ผู้ถูกเรียกขอเลื่อนไม่มารับทราบข้อกล่าวหานั้นในหมายเรียกครั้งแรกนั้นเป็นสิทธิที่ทำได้ตามกฎหมาย แต่หากตำรวจออกหมายเรียกในครั้งที่สองแล้วยังไม่มาอีกโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควร ก็สามารถขอหมายจับได้เลย และการประสานเพื่อขอเลื่อนพนักงานสอบสวนไปก่อนแต่สุดท้ายก็ไม่ได้นัดว่าจะไปวันไหนกันแน่ เจ้าพนักงานจะเห็นว่าไม่ให้ความร่วมมือและมีการใช้ช่องโหว่ในทางกฎหมายเพื่อดึงเวลา [4]

นายรังสิมันต์โกหกว่าอยู่ในระหว่างสมัยประชุมเมื่อมีการออกหมายเรียกครั้งแรก
นี่ก็เป็นประเด็นที่มีการบิดเบือนและโกหกครั้งใหญ่ โดยส.ส.รังสิมันต์อ้างว่าไม่ได้ไปตามหมายเรียกในครั้งแรก ตามวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2563 เพราะขณะนั้นอยู่ระหว่างสมัยประชุมจึงได้ความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญมาตรา 125 ไม่ให้ออกหมายเรียกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระหว่างสมัยประชุม จึงเป็นข้อแก้ตัวอันควร ตามมาตรา 66 แต่ในความเป็นจริงแล้ว หมายเรียกนั้นลงวันที่ 12 มีนาคม 2563 ให้ไปรายงานตัวในวันที่ 23 มีนาคม 2563 ต่างหากตามภาพที่ให้ไว้ ซึ่งนี่ก็เป็นการเปิดเผยโดยนายรังสิมันต์ เองเลยเมื่อออกข่าวตอนช่วงปี 2563 โดยเขายังยอมรับอีกว่าเขาได้ถูกฟ้องร้อง