
ไบเดนตั้ง ‘หน่วยต่อต้านข่าวปลอม’ ท่ามกลางคำวิจารณ์ว่าผูกขาดความจริง และปิดกั้นคนอื่นที่ไม่ใช่พวกฝ่ายซ้าย
รัฐบาลสหรัฐฯ เพิ่งเปิดตัว ‘คณะกรรมการกำกับดูแลการบิดเบือนข้อมูล’ (Disinformation Governance Board) ซึ่งดำเนินการภายใต้การดูแลของกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ (DHS) ไปเมื่อเร็วๆ นี้ ในขณะที่โดนโจมตีว่า เป็นการปิดปากและลิดรอนเสรีภาพของประชาชน
นักวิจารณ์หลายคน รวมถึงพรรคการเมืองฝั่งรีพับลิกัน ต่างออกมาประณามหน่วยงานที่เพิ่งเปิดตัวใหม่นี้ว่าเป็นการปราบปรามเสรีภาพในการพูด ด้วยการทำตัวเป็น ‘ผู้ควบคุมทางความคิด’ (Thought Police) ซึ่งอ้างอิงมาจากวรรณกรรมทางการเมืองเรื่อง ‘1984’ ของจอร์จ ออร์เวลล์
โดยมายอร์กาส ได้ออกมาปฏิเสธคำวิจารณ์ดังกล่าวในรายการ State of the Union ของ CNN โดยอ้างว่า ‘การควบคุมทางความคิด’ ไม่ใช่สิ่งที่หน่วยงานเล็กๆ ภายใต้การกำกับดูแลของ DHS จะทำแน่นอน
นอกจากนี้ โฆษกทำเนียบขาว เจ็น ซากี ยังพยายามต่อต้านคำครหาต่อหน่วยงานน้องใหม่นี้ โดยอ้างว่า เป็นหน่วยงานที่สืบทอดต่อจากเจตนารมณ์ของอดีตประธานาธิบดีทรัมป์อีกด้วย
หน่วยงานใหม่นี้ นำโดย นีน่า จังโควิช ซึ่งเคยทำงานร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศยูเครน และดูแลโครงการรัสเซีย-เบลารุสที่สถาบันประชาธิปไตยแห่งชาติ (NDI) เคยถูกเพ่งเล็งกรณีปกปิดข่าวฉาวจากแล็ปท็อปของฮันเตอร์ ไบเดน ที่รายงานโดย New York Post โดยอ้างว่าเป็นเฟคนิวส์ที่หนุนโดยรัสเซีย ซี่งภายหลังข่าวดังกล่าวได้รับการยืนยันโดยสื่อหลักว่าเป็นเรื่องจริง
ทั้งนี้ มายอร์กาส ได้ออกมากล่าวปกป้อง จังโควิช ผ่าน Fox News เมื่อวันอาทิตย์ (8 พ.ค.) ว่าเธอ “มีคุณสมบัติโดดเด่น และเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงด้านเฟคนิวส์”
การผลักดันการเซ็นเซอร์ครั้งใหม่ ประกาศเมื่อวันพุธ (11 พ.ค.) เพียง 2 วันหลังจากมหาเศรษฐี อีลอน มัสก์ บรรลุข้อตกลงในการซื้อทวิตเตอร์ที่ราคา 1.5 ล้านล้านบาท และให้คำมั่นว่าจะนำเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นกลับคืนมาที่แพล็ตฟอร์ม
ด้าน จังโควิช ได้ตอบสนองต่อข่าวการเข้าซื้อทวิตเตอร์ของมัสก์ ว่า “ฉันตัวสั่นทุกครั้งที่คิดว่าหากผู้ที่เชื่อมั่นในเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างสุดโต่งเข้ายึดแพล็ตฟอร์มมากขึ้น ชุมชนชายขอบที่ถูกข่มเหงอยู่ฝ่ายเดียวมาตลอดจะมีชะตากรรมเช่นไร”
ขณะที่ ส.ส.พรรครีลพรับริกันได้มีผลักดันแคมเปญให้ยุติการทำงานของคณะกรรมการดังกล่าว ด้วยข้อหาขัดต่อรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา
แบนนาฬิกาและเสี่ยงโดนจำคุก 3 ปี เจ้าของนาฬิกา Swatch คอลเลคชั่น ‘Pride’ อาจถูกจำคุกสูงสุด 3 ปีเหตุขัดกฎหมายมาเลเซีย
ชี้โอกาสตีตลาดโลก ‘พาณิชย์’ ชี้กระแสโลกใส่ใจสัตว์เลี้ยงและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เปิดโอกาสให้ ‘ธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง’ ไทย
เปลี่ยนภาพบนธนบัตร ออสเตรเลียเตรียมลบรูปควีนเอลิซาเบธที่ 2 เปลี่ยนเป็นภาพที่ยกย่องวัฒนธรรมและ ประวัติศาสตร์ชนพื้นเมืองแทน
ศิราวุธ ภุมมะกสิกร
อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม