‘ไทยได้ดุลญี่ปุ่น 1.3 แสนล้าน’ นายกรัฐมนตรีชื่นชมทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมผลักดันสินค้าเกษตรไทยในตลาดญี่ปุ่น
8 ก.ค. 2565 – นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ชื่นชมทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ร่วมกันทำงานผลักดันการขยายตลาดสินค้าไทยในประเทศญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่อง จนเห็นผลสำเร็จเป็นรูปธรรม
โดยกระทรวงพาณิชย์รายงานว่า ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสินค้าเกษตรและอาหาร อันดับ 2 ของไทย โดยระหว่างปี 2562-2564 ไทยมีสัดส่วนการส่งออกไปญี่ปุ่นประมาณร้อยละ 11.35 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรไปตลาดโลก และที่ผ่านมา ไทยได้ดุลการค้าสินค้าเกษตรกับญี่ปุ่นมากกว่า 130,000 ล้านบาท
นายธนกร กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะผู้แทนไทย ได้เดินทางเยือนประเทศญี่ปุ่นเพื่อหารือร่วมกับภาคเอกชนด้านโลจิสติกส์และคลังสินค้าเกษตรของไทยในญี่ปุ่น
.
พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้ประกอบการ ศึกษาแนวโน้มตลาด และรสนิยมของผู้บริโภค เพื่อผลิตสินค้าเกษตรและอาหารให้สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ “ตลาดนำการผลิต”
“เนื่องจากมีโอกาสและความต้องการเป็นช่องทางให้ไทยขยายการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหาร ไปยังตลาดญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีช่องทางในการเพิ่มความร่วมมือด้านต่าง ๆ อาทิ ร่วมลงทุนด้านเกษตรอุตสาหกรรม เครื่องจักรกลและเทคโนโลยีเกษตร พัฒนาระบบโลจิสติกส์ทางเรือและ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ขยายความร่วมมือด้านการพัฒนาอาหารแห่งอนาคต (Future Food) ร่วมกับมหาวิทยาลัยทากะซากิ (Takasaki City University of Economics) ในจังหวัดกุนมะ และ บริษัท ฟิวเจอร์นอท อิงค์ (Futurenaut Inc.) ซึ่งเป็นผู้ผลิตอาหารจากแมลงโดยใช้ผงจิ้งหรีดนำเข้าจากประเทศไทยไปแปรรูป เช่น ขนมแครกเกอร์ โปรตีนแท่ง เป็นต้น
ทั้งนี้เพื่อร่วมมือวิจัยและพัฒนาแมลงต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์อาหารจากโปรตีนทางเลือก สอดรับแนวทางองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO: Food and Agriculture Organization) ที่ประกาศให้แมลงเป็นแหล่งอาหารในอนาคตของโลก
โดยตลาดอาหารจากแมลงนั้นมีการเติบโตสูงในญี่ปุ่น จึงถือเป็นโอกาสไทยในการขยายตลาด สร้างงาน สร้างรายได้แก่เกษตรกร ซึ่งปัจจุบันมีฟาร์มแมลงของเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และบริษัทเอกชนกว่า 1 แสนฟาร์ม ส่งออกแมลงทั้งในทวีปอเมริกาใต้ ยุโรปและเอเชีย
นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังได้ทำงานร่วมกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา และกระทรวงเกษตร ป่าไม้ ของญี่ปุ่น ผลักดันการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI) สินค้าท้องถิ่นไทยในตลาดญี่ปุ่นจำนวน 3 รายการ ได้แก่ กาแฟดอยตุง กาแฟดอยช้าง จังหวัดเชียงราย และสับปะรดห้วยมุ่น จังหวัดอุตรดิตถ์
เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและขยายโอกาสทางการค้าให้กับสินค้า GI ไทยในตลาดต่างประเทศ สร้างรายได้แก่ชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ตั้งเป้าสร้าง รายได้ให้แก่เกษตรกรไทยกว่า 1.2 พันล้านบาท โดยคณะผู้ตรวจสอบฯ จะเดินทางลงพื้นที่ดูแหล่งเพาะปลูกและแหล่งผลิตสินค้า GI ในไทยช่วงปลายปี 2565 นี้
“นายกรัฐมนตรีชื่นชมหน่วยงานเกี่ยวข้องที่ได้บูรณาการความร่วมมือระหว่างไทย-ญี่ปุ่น และระหว่างประเทศ เพื่อกระตุ้น และขยายการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมร่วมกัน
.
รวมทั้งรับฟังความเห็นเกี่ยวกับปัญหา และข้อเสนอแนะโดยตรงจากผู้ประกอบการของไทยและญี่ปุ่น เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาและการออกมาตรการที่มีประสิทธิภาพ พร้อมกำชับทุกฝ่ายร่วมพัฒนา และผลักดันภาคการเกษตรและสินค้าชุมชนของไทยอย่างต่อเนื่อง
บูรณาการความร่วมมือในการส่งออกแมลงผงเพื่อตอบโจทย์เทรนด์อาหารแห่งอนาคต อีกทั้งส่งเสริมสินค้า GI ให้มีมูลค่าการตลาดเพิ่ม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และขยายช่องทางการตลาดให้กับสินค้า เพิ่มรายได้ให้กับผู้ผลิตสินค้าในชุมชน มุ่งหวังเกษตรกรและผู้ประกอบการชุมชนรายย่อยมีรายได้เพิ่มขึ้น” นายธนกร กล่าว
Related posts
อุตสาหกรรม ‘โลกเก่า’ นักท่องเที่ยวไม่เหมือนเดิม ปัจจัยเชิงโครงสร้างที่ทำให้เศรษฐกิจไทยไม่ฟื้นตัว ในมุมมองของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
ทุกพรรคเห็นตรงกัน ไม่นิรโทษกรรมคดี ม.112 ‘ภูมิธรรม’ ชี้จุดยืนทุกพรรคชัดเจนตั้งแต่ร่วมตั้งรัฐบาล
ราคานมในอินเดียพุ่ง เหตุจำนวนโคนมน้อย และโรคลัมปีสกิน โอกาสทองของผู้ส่งออกนมไปอินเดีย
ศิราวุธ ภุมมะกสิกร
อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม