Articlesในน้ำมัน 1 ลิตร ประกอบไปด้วย ค่าอะไรบ้าง และนำไปใช้ประโยชน์อย่างไรในการพัฒนาประเทศ

ในน้ำมัน 1 ลิตร ประกอบไปด้วย ค่าอะไรบ้าง และนำไปใช้ประโยชน์อย่างไรในการพัฒนาประเทศ

หลายครั้งการพูดคุยถึงราคาน้ำมันนั้นมักจะเป็นไปในทิศทางเดียว นั่นคือคำพูดที่ว่า “น้ำมันแพง” และหลังจากนั้นก็มักจะมีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงราคาน้ำมันที่เป็นอยู่ ซึ่งหลายครั้งก็มาจากข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรืออาจจะถูกบิดเบือนไปต่าง ๆ นานา

 

ไม่เพียงเท่านั้น ถ้าเราพูดถึงภาพรวมทั้งหมด ราคาน้ำมันที่ขายปลีกกันในท้องตลาดเป็นเพียงข้อเท็จจริงที่อยู่ “ปลายน้ำ” ในขณะที่น้อยคนจะถึง “ต้นน้ำ” และ “กลางน้ำ” ของการใช้น้ำมันทั้งวงจร

 

การทำความเข้าใจว่า กว่าน้ำมันจะมาถึงให้เราเติมในปั๊มน้ำมันได้นั้น ต้องผ่านกระบวนการอะไรบ้าง และที่สำคัญคือมีค่าใช้จ่ายอะไรในฝั่งของผู้ผลิตและผู้ค้า กว่าเราจะได้เติมน้ำมันแต่ละลิตร คำตอบเหล่านี้จะทำให้เราเข้าใจถึงข้อเท็จจริงที่ชัดเจนเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำมันได้

 

โดยน้ำมันที่รถยนต์ในท้องถนนใช้นั้นมีหลายชนิด แตกต่างกันไปตามส่วนผสมและการใช้งาน แต่ถ้าจะยกขึ้นมาอย่างหนึ่ง ก็อาจใช้ “น้ำมันเบนซิน” มาเป็นตัวอย่าง โดยปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ [11 ตุลาคม พ.ศ. 2565] ) ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินอยู่ที่ [42.56] บาท ต่อ ลิตร ซึ่งนี่คือสถานการณ์ ณ ปลายน้ำ แต่เราลองย้อนกลับไปตั้งต้นที่ต้นน้ำดู ว่ากว่ามันจะมาอยู่ที่ราคาปัจจุบันมันเริ่มมาจากจุดไหน และต้องผ่านกระบวนการอะไรบ้าง

 

ซึ่งเราคงอาจจะไม่ต้องย้อนไปเริ่มต้นที่การขุดเจาะน้ำมันดิบ แต่จุดที่เราสามารถเริ่มพูดถึงกันได้นั่นก็คือ ราคาของ “น้ำมันสุก” หลังผ่านกระบวนการกลั่นเสร็จเรียบร้อยแล้ว หรือที่เรียกว่า “ราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่น” ขณะนี้อยู่ที่ [23.5213] บาท

 

ต่อจากนั้น เหมือนสินค้าทุก ๆ อย่าง หลังการผลิตแล้วจะต้องเสีย “ภาษีสรรพสามิต” (ภาษาอังกฤษเรียกว่า excise) ซึ่งคือรายรับหลักของรัฐเพื่อนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของค่าใช้จ่ายของรัฐทั้งหมด เช่น เงินเดือนของข้าราชการและรายจ่ายของโครงการต่าง ๆ ซึ่งภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันสุกอยู่ที่ [6.5] บาท ส่วนภาษีอีกตัวหนึ่งที่ต้องเสียนั่นก็คือ “ภาษีเทศบาล” (municipal tax) เพื่อนำไปพัฒนาท้องที่ต่าง ๆ อยู่ที่ [0.65] บาท ราคาจึงกลายมาอยู่ที่ [30.6713] บาท

 

ต่อมาคือส่วนของกองทุน ซึ่งมีสองกองทุนนั่นคือ “กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง” หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า “กองทุนน้ำมัน” และอีกกองหนึ่งคือ “กองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน” ซึ่งทั้งสองกองทุนนั้นตั้งขึ้นเพื่อช่วยไม่ให้ประชาชนเดือดร้อนหากเกิดภาวะขาดแคลนน้ำมันหรือราคาน้ำมันในตลาดโลกพุ่งสูงขึ้น ด้วยรักษาระดับราคาค้าปลีกไม่ให้เกิดความผันผวนอย่างรุนแรงจนเกินไปโดยมีค่าอุดหนุนกองทุนทั้งสองนี้อยู่ที่ [7.18] บาท สำหรับกองทุนน้ำมัน และ [0.005] บาท สำหรับกองทุนส่งเสริมฯราคาน้ำมันในขั้นนี้จึงอยู่ที่ [37.8563] บาท ซึ่งราคานี้ก็คือราคาขายส่ง จากโรงกลั่นสู่ผู้ค้าปลีกน้ำมัน โดยเมื่อมีการซื้อขายออกไปแล้ว เช่นเดียวกับสินค้าอื่น ๆ ก็จะมีเก็บ “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” (VAT) ด้วย ซึ่งจะอยู่ที่ [2.6499] บาท ราคาน้ำมันจึงมาอยู่ที่ [40.5062] บาท

 

จุดนี้เราก็มาถึงปลายน้ำกันแล้ว นั่นก็คือน้ำมันเข้ามาอยู่ที่สถานีบริการน้ำมัน หรือ “ปั๊ม” เพื่อรอการเติมโดยลูกค้า นั่นก็คือพวกเรา แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังคงมีอีก 2 ขั้นตอนสุดท้าย นั้นก็คือการที่น้ำมันยี่ห้อต่าง ๆ นั้นก็มีต้นทุนที่ต้องจ่าย ตั้งแต่การสร้างระบบเก็บน้ำมัน, การขนส่งน้ำมัน, การให้บริการของพนักงานในปั๊มน้ำมัน, รวมทั้งการทำการตลาดและโฆษณาน้ำมันยี่ห้อนั้นๆ ซึ่งในส่วนนี้ก็ถือเป็นค่าใช้จ่ายของทางบริษัทน้ำมันที่ต้องจ่ายไป จึงมีการอนุญาตให้มี “ค่าการตลาด” ได้ โดยอยู่ที่[1.9194] บาท และขั้นตอนสุดท้ายก็คือ “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” (VAT) เมื่อลูกค้าได้เติมน้ำมัน ซึ่งอยู่ที่ [0.1344] บาท

 

ท้ายสุด เมื่อรวม 2 ขั้นตอนสุดท้ายในโครงสร้างราคาน้ำมัน เมื่อซื้อปลีกน้ำมันเบนซินจึงอยู่ที่ [42.56] บาท

ทั้งหมดนี้เราจะเห็นได้ตั้งแต่ ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ ว่าตรงไหนคือค่าใช้จ่ายของผู้ผลิตและผู้ค้า, ตรงไหนคือภาษีและเป็นภาษีชนิดใดบ้าง, ตรงไหนที่ประชาชนสนับสนุนกองทุนน้ำมันเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการคงราคาน้ำมันเอาไว้ ซึ่งนี่คือโครงสร้างราคาน้ำมันของน้ำมันเพียงชนิดเดียวที่เรายกตัวอย่างให้เห็นเท่านั้นคือ “น้ำมันเบนซิน” แต่ยังคงมีน้ำมันอีกหลายชนิดนี้มีโครงสร้างราคาแตกต่างกันไปอีก ซึ่งก็สามารถเข้าถึงได้ที่ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน(http://www.eppo.go.th/index.php/th/petroleum/price/structure-oil-price)

 

เมื่อเห็นเช่นนี้แล้วอาจจะทำให้เราเข้าใจว่าทำไมน้ำมันจึงมีราคาเช่นที่เป็นอยู่ และอาจจะช่วยแก้ไขความเข้าใจผิดของคนไทยบางคนที่คิดว่าว่าน้ำมันนั้นถูกตั้งใจทำให้มีราคาแพงเพื่อเป็นผลประโยชน์ของผู้ผลิตและผู้ค้า เพราะเมื่อเราได้เห็นข้อเท็จจริงแล้วก็จะรู้ว่ามันไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย

 

# TheStructureArticle

#น้ำมันแพง #PTT

 

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า