
เหตุผลที่ “อภิสิทธิ เวชชาชีวะ” ไม่ใช่นายกจากค่ายทหาร
จากกรณีของอดีตนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่โดนกล่าวหาว่าเป็น “นายกรัฐมนตรีที่มีการจัดตั้งในค่ายทหาร” และยังเป็นข้อกล่าวหาที่ยังอยู่จนถึงปัจจุบันซึ่งก็จะเห็นว่า นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากระบบการเลือกตั้งทั่วไปเหมือนกับนายกรัฐมนตรีคนอื่น ๆ ทำให้การเข้าใจถึงกระบวนการเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีไทยที่มาจากการเลือกตั้งจะช่วยทำให้ได้เข้าใจถึงกลไกประชาธิปไตยไทยได้ดียิ่งขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเหตุการณ์ทางการเมืองในไทยต่อไป
ซึ่งกระบวนการเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีไทยที่มาจากการเลือกตั้ง ต้องบอกก่อนว่า โดยหลักการแล้วจะมาจากการเลือกตั้งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ซึ่งก็จะมาจากการเลือกตั้งของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในประเทศไทยทั้งหมดในนามของการเลือกตั้งในระดับชาติที่เรียกกันในภาษาชาวบ้านว่า “เลือกผู้แทนเข้าสภา” เพราะระบบประชาธิปไตยไทยเป็นระบบรัฐสภา ซึ่งนายกรัฐมนตรีไม่ได้มาจากการเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง และประเทศในระบบรัฐสภาอย่าง อังกฤษ ญี่ปุ่น ก็ใช้ระบบนี้กันทั้งนั้น คือ การเลือกตัวแทนของประชาชนเข้ามาในรัฐสภาและทำการเลือกบุคคลหนึ่งในรัฐสภาขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีวาระการดำรงตำแหน่งตามที่ได้กำหนดไว้ซึ่งวาระการดำรงตำแหน่งจะอิงตามวาระการดำรงตำแหน่งของสมาชิกรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้ง เช่น หาก ส.ส. มีวาระ 4 ปี ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีก็จะสามารถดำรงตำแหน่งได้มากที่สุดในรอบดังกล่าว 4 ปี เหมือนกัน
ทั้งนี้หากผู้ที่เป็นนายกรัฐมนตรีก่อนหน้าได้ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและไม่ได้มีการยุบสภาที่มีผลทำให้สมาชิกภาพของสมาชิกรัฐสภาสิ้นสุดลงและเข้าสู่การเลือกตั้งระดับชาติตามกำหนดนั้น สมาชิกรัฐสภาก็จะทำการเลือกนายกรัฐมนตรีภายในรัฐสภาอีกครั้งโดยเป็นคณะเดิมกับที่เลือกนายกรัฐมนตรีก่อนหน้า ซึ่งจะเลือกพรรคการเมืองไหนก็ได้และไม่จำเป็นว่าจะต้องเลือกพรรคการเมืองเดียวกับที่เคยเลือกในครั้งก่อนหน้าด้วยขึ้นอยู่กับการเจรจาต่อรองต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างพรรคการเมืองต่าง ๆ
ซึ่งในกรณีของอดีตนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็จะตรงกับสิ่งที่กล่าวมาก่อนหน้า คือ มีการเลือกตั้งในระดับชาติเมื่อปี พ.ศ.2550 ที่ นายสมัคร สุนทรเวช จากพรรคพลังประชาชน ได้เข้ามาดำรงตำแหน่ง จากนั้นเมื่อพ้นตำแหน่ง นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ จากพรรคเดียวกันก็ได้รับเลือกต่อ และช่วงหลังจากพรรคพลังประชาชนได้ถูกยุบและเป็นพรรคเพื่อไทยในเวลาต่อมา ก็มีการลงมติเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ซึ่งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปด้วยจำนวนสมาชิก ส.ส. ส่วนใหญ่ที่เลือก ซึ่งทั้งนายบรรหาร ศิลปอาชา และนายชวน หลีกภัย ในวาระที่สอง ก็ได้รับเลือกมาในรูปแบบนี้เช่นกัน
โดยการรับรู้ถึงกลไกการเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีไทยโดยละเอียดนั้น ย่อมเป็นการลดอดติทางการเมืองที่มีอยู่ซึ่งโดยมากแล้วมักจะเกิดจากความไม่รู้ที่สั่งสมมาเรื่อย ๆ ดังนั้น การเข้าใจในเหตุการณ์การเมืองอย่างถูกต้องและรอบด้านจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในสถานการณ์ทางสังคมที่เต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสารเป็นจำนวนมากและเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการทำให้กลไกประชาธิปไตยไทยยังคงเข้มแข็งอยู่ต่อไป