อินเดีย กับความมั่นคงทางพลังงาน
ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนนั้นแสดงให้เห็นถึงความจริงอย่างหนึ่งที่ผู้คนส่วนมากมักมองข้ามไป นั่นก็คือความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างประเด็นด้านการเมือง, การทหาร, ความมั่นคง และเศรษฐกิจ
จากการพุ่งเป้าทางการเมืองเพื่อโต้ตอบรัสเซียโดยประเทศตะวันตก นำโดยสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป เราจะเห็นได้ว่าประเด็นทางเศรษฐกิจต่าง ๆ นั้นถูกโยงเข้าไปสู่ประเด็นทางการเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประเทศต่าง ๆ ถูกกดดันให้แสดงจุดยืนทางการเมือง ผ่านวิธีการทางเศรษฐกิจ เช่น การคว่ำบาตรทางการค้า, การถอนการลงทุน (divestment), หรือกระทั่งการยึดทรัพย์สินต่อประเทศที่เป็นเป้าหมายของการกดดัน เป็นต้น
แต่คำถามคือ ขับเคลื่อนทางการเมืองระหว่างประเทศโดยไม่สนใจผลกระทบด้านอื่น ๆ นั้นเป็นสิ่งที่ควรทำหรือไม่
คำตอบของแต่ละประเทศ คงขึ้นอยู่กับปัจจัยหลากหลายอย่าง แต่สำหรับประเทศที่มีขีดความสามารถ การสร้างสมดุลระหว่างประเด็นทางการเมืองและประเด็นอื่น ๆ โดยเฉพาะประเด็นทางเศรษฐกิจนั่น เป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก ท่ามกลางโลกที่ดูเหมือนจะกำลังแตกออกเป็นสองฝ่าย
ตัวอย่างที่ดีที่เราควรพิจารณานั่น คือการดำเนินนโยบายต่างประเทศของอินเดีย ที่เลือกการแสดงจุดยืนทางการเมืองอย่างไม่สุดโต่ง และคำนึงถึงผลกระทบของประเทศและประชาชนของตนเองมากที่สุด
นั่นเพราะเมื่อประเทศตะวันตกเรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกร่วมกันคว่ำบาตรรัสเซีย อินเดียในฐานะประเทศที่มีความสัมพันธ์อย่างยาวนานกับรัสเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นประเทศที่นำเข้าพลังงานจากรัสเซีย การทำตามข้อเรียกร้องของประเทศตะวันตกนั่นจะทำให้อินเดียตกสู่สภาวะขาดแคลนน้ำมันในทันที ซึ่งจะเป็นผลกระทบในทางลบต่อประเทศและประชาชนอินเดีย
การให้ความสำคัญต่อนโยบายและความมั่นคงทางพลังงานและสร้างสมดุลไม่ให้การดำเนินนโยบายต่างประเทศนำผลเสียมาให้อินเดียนั้น มาจากเป้าหมายสำคัญที่สุดคือการรักษาผลประโยชน์ของประเทศตนเองให้ได้มากที่สุด
ซึ่งในที่ผ่านมา รัฐบาลอินเดีย ผ่านรัฐมนตรีหลายท่าน ไม่ว่าจะเป็นสุพรหมณยัม ชัยศังกระ (Subrahmanyam Jaishankar) รัฐมนตรีต่างประเทศ หรือ หรทีป สิงห์ ปุรี (Hardeep Singh Puri) รัฐมนตรีน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ได้แสดงให้เห็นถึงการดำเนินนโยบายแห่งชาติที่ไม่เกรงกลัวต่อการครอบงำจากอิทธิพล การชี้นำ และการกดดันของชาติมหาอำนาจ แต่ดำเนินนโยบายด้วยการคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติเป็นที่ตั้ง
Operation Varsity Blues คดีทุจริตระบบการศึกษา “ยกระบบ” ที่อื้อฉาวที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกา
พลังงานแสงอาทิตย์ และค่าใช้จ่ายแฝงที่บางพรรคการเมืองไม่ได้บอกคุณ
ตีแผ่ความหมาย “พลเมืองโลก” หนึ่งในวาทกรรมเคลือบพิษ ต้นตอความแตกแยกที่เติบโตด้วยแนวคิดที่บิดเบี้ยว
ศิราวุธ ภุมมะกสิกร
อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม