‘อิจฉาริษยา’ ต้นตอของ ‘พฤติกรรมดูหมิ่นเหยียดหยาม’ มลพิษทางความคิด ที่ถ่วงความเจริญ และบ่อนทำลายสังคม
อาการอิจฉาริษยา เป็นพฤติกรรมตอบสนองทั่วไปของมนุษย์ที่มักจะเกิดขึ้นเมื่อรับรู้ว่ามีคนที่ดีกว่าตนเอง และตนต้องการที่จะดีเท่ากับบุคคลนั้น หรือต้องการจะดึงเขาให้ต่ำลงมาเท่าตนเองหรือต่ำลงไปอีก
ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่มักพบเห็นได้ค่อนข้างบ่อยครั้งในสังคมคนหมู่มาก ที่มีความต้องการทางสังคมที่แตกต่างกันและต้องการรักษาความสำคัญของตนและทำให้คนรอบข้างมองว่าตนมีค่ามากกว่าใคร ๆ
แต่การแสดงออกมักไม่ใช่การยกระดับตนเองให้สูงขึ้น ทว่ากลับเลือกที่จะสะใจเมื่อคนที่ดีกว่าตกต่ำ หรือในทางที่เลวร้ายคือการมีส่วนร่วมในการทำให้ตกต่ำด้วยน้ำมือของตนเองหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง
โดยในสังคมภาพใหญ่ที่มีพฤติกรรมเหล่านี้ส่วนใหญ่มักจะจมปลักกับความอิจฉาริษยาคนอื่นเพื่อพิทักษ์ความมีค่าและความสำคัญของตน ที่เพียงถึงขั้นตอนนี้ก็ทำให้เสียเวลาอันมีค่าที่ควรใช้ในการยกระดับตนเองให้สูงขึ้น เพราะเอาเวลาไปใช้ในการมองหาความตกต่ำของผู้อื่นแทน
บางครั้งถ้ามีความอิจฉาในระดับที่รุนแรงขึ้นก็จะเลือกที่ใช้วิธีการในการดึงพวกเขาที่ดีกว่าให้ตกต่ำเท่าตนเอง หรือแย่ยิ่งกว่า แทนที่จะพัฒนาตนเองให้เทียบเท่ากับบุคคลเหล่านั้น ซึ่งพฤติกรรม อิจฉาริษยา สามารถกล่าวได้ว่า เริ่มประตูสู่ด้านมืดของความเป็นมนุษย์ ซึ่งก็คือ การเห็นคนอื่นดีไม่ได้เท่าตนเอง
และในระดับกลไกสังคมภาพรวม การมีพฤติกรรมแบบนี้บ่อยครั้ง ก็คือแนวคิดที่สามารถชะลอการขับเคลื่อนสังคมได้ดียิ่ง เพราะความคิดแบบอิจฉากันและกันจะจบอยู่ที่การขัดขากันเอง เลือกที่จะชิงดีชิงเด่น ทำให้ตนดูดีเกินจริง ซึ่งตรงนี้ทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของความเสื่อมทางสังคมภาพรวม
ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในระดับที่ใหญ่ขึ้นก็จะเริ่มมองผู้คน องค์กร ที่ดีกว่า เจริญกว่า เข้มแข็งกว่า ในมุมมองของการอิจฉาริษยา และมองในแง่ลบต่อกลุ่มเหล่านี้
จุดนี้คือจุดหายนะที่สามารถทำให้สังคมภาพรวม หรือประเทศชาติให้พังพินาศย่อยยับในอนาคตข้างหน้า เพราะจะไม่ได้มองผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นศูนย์กลางแต่จะมองผลประโยชน์ของตนเป็นที่ตั้งจากความอิจฉาต่อสิ่งที่ดีกว่า
กลายเป็นพฤติกรรมเหยียดหยามที่สะสมอยู่ในตัวของผู้คนที่มีพฤติกรรมดังกล่าวและพร้อมที่ยัดเยียดมลพิษทางความคิดให้ใครต่อใครที่มองว่า ดีกว่าตน และทำลายความหลากหลายทางความคิดในสังคมที่ควรจะเป็นอย่างย่อยยับ เพราะหากมีการแสดงออกอะไรก็ตามที่เกินเลยมาตรฐานชีวิตของคนใดคนหนึ่ง ต่อมอิจฉาริษยาก็จะทำงานและปลดปล่อยมลพิษออกมาสู่สังคมโดยทันที
และในสังคมภาพรวมหรือประเทศ ที่การแสดงออกสร้างสรรค์ถูกกีดกันเพราะความอิจฉากันแบบนี้ การเดินหน้าก็จะลำบากหรือบางครั้งก็อาจจะถอยหลังเข้าคลองเลยด้วยซ้ำ เห็นคนมีความรู้ก็เหยียดว่าเอาตัวไม่รอดบ้าง ไม่เข้าใจสังคมบ้าง เห็นคนรวยก็เหยียดว่าเอาเปรียบสังคมบ้าง เห็นคนจนก็เหยียดว่าเป็นตัวถ่วงของสังคมบ้าง ตกลงแล้วมาตรฐานของคนอิจฉาเหล่านี้คืออะไร ก็อยากรู้เหมือนกัน
และความอิจฉาก็สามารถถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ไม่ได้จบที่รุ่นเดียว ทั้งหมดนี้จึงกลายเป็นพลังที่ทำลายสังคม ทำลายประเทศชาวติ และทำลายจุดมุ่งหมายของมนุษย์ ได้อย่างย่อยยับ
ดังนั้น การจะทุเลาความอิจฉาริษยา เหล่านี้ได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะเข้าใจตนเองก่อนว่า มีจุดมุ่งหมายในชีวิตอย่างไร และจะใช้ชีวิตอย่างไร
การที่มีผู้คนรอบข้างมีอะไรที่ดีกว่า บ่อยครั้งก็เกิดจากที่พวกเขาได้ลงมือทำมามากมายเพื่อให้ได้มาซึ่งเหล่านี้ ถ้าอยากได้เหมือนพวกเขา อย่าอิจฉา อย่าเหยียด อย่าอคติ แต่ให้ลงมือทำให้มากกว่าพวกเขา ใช้สมองให้มากกว่าพวกเขา และเรียนรู้ตนเองให้มากขึ้น
เพราะนั้นคือหนทางสู่ความเจริญที่ยิ่งกว่าการอิจฉาใด ๆ
โดย ชย
โรคอ้วนทะลุ 1 พันล้านคน องค์การอนามัยโลก (WHO) เผยมีคนเป็นโรคอ้วนกว่า 1 พันล้านคนทั่วโลก โดยประเทศรายได้ต่ำ-ปานกลาง มีคนเป็นมากกว่าประเทศร่ำรวย
ชาวไต้หวัน ต้องการบริโภคกาแฟเพิ่ม ‘พาณิชย์’ ชี้กาแฟไทยมีคุณภาพสูง และอาหารไทยเป็นที่รู้จักดีในไต้หวัน แนะไทยเข้าตีตลาดกาแฟ โดยใช้ของว่างแบบไทย ๆ เป็นจุดดึงดูด
แอลจีเรียร่วม SCO องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ องค์การที่ก่อตั้งโดย จีน รัสเซีย และเอเชียกลาง ที่มีสัดส่วนประมาณ 20% ของ GDP โลก
ศิราวุธ ภุมมะกสิกร
อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม