Newsหายนะซ้อนหายนะ! ภาวะสงครามรัสเซีย-ยูเครน พาโลกเข้าสู่วิกฤตการณ์อาหารครั้ง ‘รุนแรง’

หายนะซ้อนหายนะ! ภาวะสงครามรัสเซีย-ยูเครน พาโลกเข้าสู่วิกฤตการณ์อาหารครั้ง ‘รุนแรง’

ภาคเอกชนหลายรายเริ่มออกมาส่งสัญญาณว่าสงครามรัสเซีย-ยูเครนว่าเป็น ‘หายนะซ้อนหายนะ’ เนื่องจากไม่เพียงแค่ทำให้เกิดปัญหาวิกฤตพลังงาน แต่ยังทำให้ตลาดโลกขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภคด้วย

สเวน ทอร์ โฮลเซทเทอร์ ประธานกรรมการบริหาร Yara International บริษัทเคมีภัณฑ์ยักษ์ใหญ่สัญชาตินอร์เวย์ ที่ดำเนินการในกว่า 60 ประเทศ และนำเข้าวัตถุดิบที่จำเป็นจำนวนมากจากรัสเซียกล่าวกับ BBC ว่า “เราอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบากตั้งแต่ก่อนเกิดสงคราม และยิ่งมาเจอกับภาวะห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงัก ในข่วงที่ใกล้จุดชี้เป็นชี้ตายของฤดูกาลนี้สำหรับซีกโลกเหนือ ซึ่งปุ๋ยจะต้องเข้าสู่กระบวนการต่อไป”

รัสเซียและยูเครน เป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตรและอาหารยักษ์ใหญ่ของโลก นอกจากนี้ รัสเซียยังเป็นผู้ผลิตแร่ธาตุสำหรับผลิตปุ๋ยรายใหญ่ เช่น แร่โปแตซและฟอสเฟต ซึ่งเป็นส่วนผสมหลักของปุ๋ยที่ช่วยในการเจริญเติบโตของต้นไม้และพืชผล

ประชากรราวครึ่งหนึ่งของโลกได้อาหารจากการใช้ปุ๋ย ซึ่งหากขาดปุ๋ย ผลผลิตของพืชผลบางชนิดจะลดลงราว 50% และ “สำหรับผมแล้ว ผมไม่ได้กังวลว่าเรากำลังเข้าสู่วิกฤตการณ์อาหารโลกหรือไม่เพราะมันเกิดขึ้นแน่ ๆ แต่ที่ผมกังวลคือ วิกฤตอาหารโลกครั้งนี้จะรุนแรงแค่ไหนต่างหาก” โฮลเซทเทอร์ กล่าว

ทั้งนี้ เพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังจากที่โฮลเซทเทอร์ ได้พูดคุยกับ BBC รัฐบาลรัสเซียได้เรียกร้องให้ผู้ผลิตปุ๋ยรัสเซียระงับการส่งออกปุ๋ย

โฮลเซทเทอร์ กล่าวต่อว่า ส่วนผสมหลักที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมอาหารยุโรปราว 25% มาจากรัสเซีย และในขณะเดียวนี้ เรากำลังทำทุกวิถึทางในการหาแหล่งวัตถุดิบอื่น ๆ เพิ่มเติม แต่ด้วยระยะเวลาอันสั้น จึงหาได้จำกัด

นักวิเคราะห์ยังได้ออกมาเตือนว่าการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นจะดันให้ต้นทุนของเกษตรกรสูงขึ้น ผลผลิตลดลง ซึ่งจะยิ่งส่งผลให้ราคาอาหารสูงขึ้นไปอีก นอกจากนี้ ค่าขนส่งที่สูงขึ้น มาตรการคว่ำบาตรต่อเบลารุสซึ่งเป็นผู้ผลิตแร่โปแตซรายใหญ่ และสภาพอากาศที่แปรปรวน ซึ่งส่งผลให้ราคาปุ๋ยพุ่งสูงขึ้นมากเมื่อปีที่แล้ว ก็เป็นตัวแปรทำให้ราคาอาหารพุ่งสูงขึ้นด้วย

ทั้งนี้ แร่ธาตุสำหรับผลิตปุ๋ยไม่ได้เป็นเพียงปัจจัยเดียวที่ต้องเป็นกังวล กล่าวคือ ในการผลิตแอมโมเนียซึ่งเป็นส่วนผสมหลักของปุ๋ยไนโตรเจน จำเป็นต้องใช้ก๊าซธรรมชาติปริมาณมหาศาล และบริษัท Yara International ก็พึ่งพาก๊าซจากรัสเซียปริมาณมหาศาลไว้ป้อนโรงงานในยุโรป

ปีที่แล้ว Yara International จำเป็นต้องลดกำลังการผลิตชั่วคราวประมาณ 40% ของกำลังการผลิตในยุโรป เนื่องจากราคาก๊าซที่พุ่งสูงขึ้น ทั้งนี้ บริษัทปุ๋ยอื่นๆ ก็ลดกำลังการผลิตเช่นกันจากปัญหาเดียวกันนี้

Yara International กล่าวต่อว่า เราประเมินสถานการณ์วันต่อวัน เกี่ยวกับวิธีการรักษาระดับผลผลิตปุ๋ยที่จะส่งไปป้อนตลาดเพื่อรักษาผลผลิตทางการเกษตรโลก และมันยังเร็วเกินไปที่จะบอกว่าเรามีแผนจะลดกำลังการผลิตเพิ่มเติมหรือไม่

โดยทางบริษัทยอมรับว่า มีภาระความรับผิดชอบอันหนักอึ้ง เพื่อให้การผลิตปุ๋ยของบริษัทดำเนินต่อไปซึ่ง ณ ตอนนี้บอกได้เลยว่าเข้าสู่จุดวิกฤตแล้ว และเราขอประณามการรุกรานของกองทัพรัสเซียในยูเครน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า