“สื่อมวลชนยุคใหม่” นำเสนอทุกอย่างเพื่อแลกกับกระแส แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ไม่มีมูลความจริงหรือไร้ซึ่งมนุษยธรรมก็ตาม
นักข่าว เคยได้รับการยกย่องเชิดชูในฐานะ “ฐานันดรที่ 4” จากความพยายามต่อสู้กับอำนาจและอิทธิพลของนักการเมืองฉ้อฉล ยอมตายเพื่อนำเสนอซึ่งความจริง
แต่วันเวลาที่ผ่านไป ไม่รู้ว่าเมื่อไร ที่ฉายา “ฐานันดรที่ 4” แปรสภาพจากเสียงชื่นชม กลายเป็นคำประชดประชัน
จนเมื่อเร็ว ๆ นี้ สังคมเกิดการตั้งคำถามถึงบุคคลที่ The Standard บอกว่าเป็นคุณหมอ และอ้างว่าเป็นแพทย์หน้าด่านในการต่อสู้กับการระบาดของโรคโควิด-19 จนทำให้ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบสาธารณสุขไทยระส่ำ ทุบทำลายขวัญและกำลังใจของประชาชน
สิ่งเดียวที่ The Standard กระทำคือการยืนกรานกระต่ายขาเดียวว่า “เป็นหมอจริงจริง”
แต่คุณหมอที่ว่า เพียงปรากฎตัวในสื่อสังคมออนไลน์ “ทวิตเตอร์ และปิดบัญชีทิ้งหายไปในทันทีที่กลายเป็นข่าวว่า “อาจจะ” ปลอม
สังคมไทยจะยังเชื่อถือสื่อได้อีกหรือ ?
แทบทุกครั้งที่การนำเสนอของสื่อมีปัญหา สื่อจะอ้างว่า “นำเสนอข้อเท็จจริง” โดยไม่เคยใคร่ควรญถึงความเหมาะสม ว่าการนำเสนอของตนนั้นมีความเหมาะสมมากน้อยแค่ไหน ?
ในหลายครั้ง สื่อ ไม่คิดจะกลั่นกรองความถูกต้อง นำเสนอข่าวโดยไม่คิด ไม่สนใจว่าแหล่งข่าวที่ตนนำมาเสนอนั้น มีความน่าเชื่อถือมากเพียงใด
โดยเฉพาะ ทวิตเตอร์ ที่คนทั่วไปเขารู้กันว่า นี่คือแหล่งข่าวลืม ข่าวเท็จ ที่ไม่น่าเชื่อถือมากที่สุดแห่งหนึ่ง เนื่องจากไม่มีระบบการตรวจสอบยืนยันตัวตนเลย
เหตุกราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2563 เป็นผลงานที่งามหน้าของสื่อ ที่นำเสนอความเคลื่อนไหวที่ควรจะเป็นความลับของทางการ จนเป็นเหตุให้ผู้ก่อการทราบความเคลื่อนไหวของตำรวจ จนนำไปสู่การเสียชีวิตของผู้บริสุทธิ์
หรือการฆ่าตัวตายของสารวัตรเจ้าของคดีครูจอมทรัพย์ ที่ถูกทั้งสื่อกระแสหลัก และอินฟลูเล็นเซอร์ไร้จิตสำนึกบางคนโหมกระหน่ำเข้าใส่ จนสุดท้ายสารวัตรที่กำลังจะได้เกษียญอายุอย่างมีความสุขและภาคภูมิจากการทำงานรับใช้ประเทศชาติมาเป็นเวลาหลายสิบปี
แต่เขากลับถูกทำร้ายจิตใจอย่างแสนสาหัส ป่วยเป็นโรคทางใจ จนตัดสินใจ “ฆ่าตัวตาย”
หรือหมอยง ภู่วรวรรณ หมอแก่ ๆ ที่ตั้งใจทำงานเพื่อประชาชน ไปทำงานแต่ละวันยังขับรถเก่า ๆ เห็นแค่ประโยชน์ผู้อื่นเป็นที่ตั้ง ประโยชน์ส่วนตนเป็นทีหลัง
แต่กลับถูกสื่อบางรายหยิบยกขึ้นมาทำลายความน่าเชื่อถือ
นี่คือตัวตนที่แท้จริงของสื่อไทย (บางราย)
ตราบเท่าที่สื่อเหล่านี้ ไม่มีความรับผิดชอบ และไม่มีความจำเป็นต้องรับผิดชอบต่อการนำเสนอข่าวของตน
เราก็จะได้ สื่อมวลชนเช่นนี้ ตลอดไป
ทำไมเหรอ ?
หากเรามองย้อนกลับไปอีกหน่อย เราจะเห็นว่า สื่อไทยเราเป็นแบบนี้มานานหลายสิบปีแล้ว ซึ่งนี่จะเห็นได้จากหนังสือของคุณสมัคร สุนทรเวช “สันดานหนังสือพิมพ์” ที่เขียนตีแผ่แฉนักหนังสือพิมพ์สมัยนั้นออกมา
เราจะไม่พูดว่าสิ่งที่คุณสมัครเขียนนั้นถูกต้อง เพราะท่านก็เขียนเอาไว้ว่า นักการเมืองกับนักหนังสือพิมพ์นั้น มีทั้งบริบทที่เป็นทั้งไม้เบื่อไม้เมากัน และพึ่งพาอาศัยกัน
ในยุคสมัยหนึ่ง หนังสือพิมพ์ เคยเป็นสื่อที่ตรงไปตรงมา เสนอข่าวและข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนจริงจริง แต่ต่อมาเริ่มมีการแบ่งขั้วแบ่งข้าง มีการเสนอข่าวที่โอนเอียงไม่เที่ยงตรง และเริ่มข่มขู่หาประโยชน์จากนักการเมือง
อาจจะพูดไม่ได้ว่าคุณสมัคร มีอคติกับสื่อหรือไม่ แต่คุณสมัคร เป็นไม้เบื่อไม้เมากับสื่อมาตลอด จนแม้กระทั่งวันที่ท่านเป็นนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2551 เลยทีเดียว
แต่ที่แน่ ๆ ก่อน พ.ศ. 2520 ที่คุณสมัครเขียนหนังสือ “สันดานหนังสือพิมพ์” เทคนิกการอาศัยมุมภาพ เพื่อบิดเบือนจำนวนคน ก็ปรากฎใช้งานมาตั้งแต่นั้นแล้ว และเทคนิกนี้ ก็ยังคงสืบทอดกันมาจวบจนปัจจุบัน
สุดท้ายนี้ สิ่งที่อยากจะถามหาจากบรรดาสื่อสารมวลชนทั้งหลาย เพราะแม้ในอเมริกา เมื่อ 200 ปีที่แล้ว ก็มีการใช้ข่าวปลอมที่ผิดจรรยาบรรณเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองมาตั้งแต่นั้น และจนวันนี้นั้น ก็ยังคงเหมือนเดิมตลอดมา
สิ่งที่เราเชื่อได้ ก็คงเหลือแค่เพียงตัวเราเองเท่านั้น ที่ต้องมีวิจารณญาณในการพิจารณาไตร่ตรองกันเอาเองว่า “อะไรจริง อะไรปลอม”
อัตตาหิ อัตตโนนาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
อ้างอิง :
[1] สมัคร สุนทรเวช (พ.ศ.2520), “สันดานหนัวสือพิมพ์”