
สังคมไทย และบริษัทน้ำมัน จะได้อะไรจากยานยนต์ไฟฟ้า
ในท่ามกลางการเคลื่อนไหวเพื่อการต่อสู้เรื่องโลกร้อนที่เป็นโฟกัสหลัก ๆ ของทุกประเทศทั่วโลกยามนี้ หนึ่งในความเปลี่ยนแปลงสำคัญที่นับได้ว่าเป็นปัจจัยหลักประการหนึ่งที่อาจเทียบได้กับเสาหลักของการเริ่มต้นปกป้องโลก คือการขยับของอุตสาหกรรมยานยนต์ จากการเน้นใช้พลังงานสันดาป ไปสู่การพัฒนาและผลิตยานยนต์พลังงานไฟฟ้า ซึ่งก็ไม่ใช่ว่า จะได้รับการสนับสนุนหรือมีโอกาสเติบโตเทียบเท่ากันในทุกประเทศ
แต่อาจนับเป็นความโชคดีประการหนึ่งของประเทศไทยสำหรับการมีรัฐบาลที่ให้ความสนใจในการพัฒนาการผลิตและการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า อีกทั้งยังมีกลุ่มบริษัทพลังงานที่ให้ความสนใจ ร่วมมือกับภาครัฐในการเปลี่ยนแปลงประเทศให้เข้าสู่สังคมการขับขี่ยานยนต์ไฟฟ้า และระบบการขนส่งอย่างยั่งยืน (Sustainable Transportation) สถานีบริการน้ำมันหลายแห่งในประเทศไทย กำลังเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เป็นสถานีชาร์จไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า
แม้ว่าดูเผิน ๆ จะเหมือนว่า กลุ่มบริษัทน้ำมันอย่าง ปตท. หรือบางจากต้องสูญเสียรายได้จากการขายน้ำมันให้แก่ผู้ใช้ยานยนต์ลง แต่สิ่งที่บริษัทน้ำมันจะได้ประโยชน์ มาจากชนิดของน้ำมันที่จะจัดจำหน่ายนั้นจะลดลง จากเดิมที่ต้องผลิตน้ำมันเบนซิน, 91, 95, E20 และดีเซล B20, B10, B7 และ B7 พรีเมียม จะลดลงเหลือเพียงไม่กี่ชนิด ทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้ อีกทั้งช่วยให้สามารถลดต้นทุนการขนส่ง และลดค่าใช้จ่ายทางการตลาดลงได้ นั่นเอง
ที่สำคัญคือการควบคุมมลพิษจากภาคการผลิตของบริษัท ที่จะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รองรับแนวโน้มของนโยบายภาครัฐ ที่จะเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าภาคเอกชนอย่าง ปตท. จะมีโอกาสที่น้อยลงสำหรับการขายน้ำมัน ทว่า นี่คือข้อดีของการเป็นรัฐวิสาหกิจ เพราะบริษัทเองก็มีอิสระเพียงพอที่จะขยับขยายไปสู่การลงทุนใหม่ ๆ ที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเพียงแค่น้ำมันเพียงอย่างเดียว อย่างที่ใคร ๆ หลายคนยังเข้าใจผิดอยู่ จนนำไปสู่พอร์ตการเติบโตอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ทั้งจากการเปลี่ยนเป้าหมายการทำธุรกิจที่สำคัญและการลงทุนโดยเฉพาะส่วนการลงทุนนอกประเทศ
ถือเป็น Win-Win Situation โดยบริษัทน้ำมันจะต้องปรับตัว เพื่อพัฒนาองค์กรของตัวเอง ในขณะที่ประชาชนจะได้อากาศและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นจากการลดลงของมลพิษ
ที่สำคัญ เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ในปัจจุบัน เป็นกระแสใหม่ของโลก และเป็นธุรกิจที่ทำเงิน สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ ผ่านการสนับสนุนส่งเสริมจากองค์กรสหประชาชาติ, กลุ่มธุรกิจและธนาคารระหว่างประเทศ และรวมไปถึงรัฐบาลในหลาย ๆ ประเทศ รวมไปถึงรัฐบาลไทย อีกทั้งยังได้รับการตอบรับที่ดีจากประชาชนในประเทศที่เจริญแล้วอย่างมาก
ดังนั้น นี่จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจอะไร ที่บริษัทน้ำมันในประเทศไทย จะลงทุนในธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า และสถานีชาร์จไฟฟ้า ซึ่งนี่ไม่เพียงเป็นการปรับตัวให้สอดคล้องกับกระแสใหม่ของโลก เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ
ที่สำคัญ แนวคิดในการดำเนินธุรกิจสมัยใหม่ ไม่ได้คำนึงถึงเพียงแค่ผลกำไรขาดทุน แต่คิดคำนึงถึงสิ่งที่สังคมจะได้รับจากการดำเนินธุรกิจของตนเอง มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากกว่าในอดีตที่ผ่านมา
หากสังคมไม่น่าอยู่ สิ่งแวดล้อมก็ย่ำแย่ ธุรกิจก็มิอาจจะคงอยู่ได้ การมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมจึงเป็นกระแสใหม่ในการดำเนินธุรกิจนั่นเอง
โดย ศิราวุธ ภุมมะกสิกร
# TheStructureArticle
#คนไทย #ยานยนต์ไฟฟ้า #PTT
แนวคิดนโยบายกำจัดขยะของกรุงเทพมหานคร ที่มีประสิทธิภาพ และนำไปปฏิบัติได้จริง
ด้วยเอกลักษณ์ของบริบท ประเทศไทยจึงควรเป็น ประชาธิปไตยแบบ “สั่งตัดพอดีตัว”
น้ำมันหมดปั๊ม คนฝรั่งเศสทะเลาะวิวาทกันเพื่อแย่งเติมน้ำมัน เหตุเกิดจากการขาดแคลนน้ำมันในยุโรป
ศิราวุธ ภุมมะกสิกร
อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม