รากฐานประชาธิปไตย การยอมรับความเห็นต่าง ที่อาจถูกกร่อนทำลายตั้งแต่ในโรงเรียน
เมื่อพูดถึง “วัฒนธรรมอำนาจกดทับในโรงเรียน” ก็มักมีหลากหลายความหมาย บ้างก็ว่าเป็นการกดทับโดยระบบการศึกษา บ้างก็ว่าเป็นการกดทับโดยบุคลากรทางการศึกษา บ้างก็ว่าเป็นการกดทับโดยสภาพแวดล้อมทางสังคม ทั้งหมดนี้จึงปรากฏในรูปของเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตมามากมาย
แต่ในบรรดาอำนาจกดทับทั้งหลาย สิ่งที่ประหลาด คือ ผู้คนมักสนใจในเรื่องของการกดทับโดยระบบการศึกษาและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง แต่มองข้ามการกดทับโดยสภาพแวดล้อมทางสังคมซึ่งมักพบในหมู่นักเรียนกันเองเป็นส่วนใหญ่และมักจะมีการกดทับกันเองในกลุ่มนักเรียนในรูปแบบที่ไม่ค่อยจะปกตินัก เช่น การทำร้ายร่างกาย การด้อยค่าภาพลักษณ์ รวมทั้งการกีดกันการมีส่วนร่วมในบทบาทต่าง ๆ ของนักเรียน ซึ่งมักจะเกิดจากความไม่เข้าใจถึงความหลากหลายทางความคิดและพยายามที่จะรักษาความเป็นหนึ่งเดียวของกลุ่มตนไว้ รวมทั้งต้องการพิทักษ์ซึ่งผลประโยชน์ของตนและพวกพ้องที่จะเป็นรากฐานของความชั่วร้ายเมื่อโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ในสังคมขนาดใหญ่ที่กลายเป็นความเสียหายทางสังคมมนุษย์ในระดับร้ายแรง
ทั้งนี้ ในบรรดาประเด็นทั้งหมดที่มักกลายเป็นวัฒนธรรมอำนาจกดทับในสถานศึกษา สามารถพบได้ในกรณีของการเห็นต่างทางความคิดต่าง ๆ โดยเฉพาะในทางการเมืองที่การไม่แสดงออกทางการเมืองไปในทิศทางที่กลุ่มเพื่อน รุ่นพี่ หรือแม้แต่อาจารย์ ที่มีอิทธิพลในระดับสูง ต้องการ ในบทบาทของการไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในประเด็นเหล่านี้ หรือแม้แต่การแสดงจุดยืนไม่สนับสนุนมติทางการเมืองที่ผู้คนรอบตัวมีอยู่ ทั้งหมดนี้กลายเป็นสาเหตุใหม่ ๆ ของการกดทับกันเองในกลุ่มนักเรียน เช่น การกีดกันคนที่ไม่แสดงออกทางการเมือง การประจานมุมมองเห็นต่างของเด็ก และจะส่งเสริมไปถึงอาจารย์ที่อาจมีความคิดทางการเมืองไปในทางเดียวกับนักเรียนส่วนใหญ่ของสถานศึกษาดังกล่าว กลายเป็นส่วนผสมที่ลงตัวในการทำลายล้างความหลากหลายทางการเมืองและการเคารพความคิดเห็นของคนอื่น โดยแทนที่ด้วยการยัดเยียดความคิดทางการเมืองที่คิดว่า ดีพอ เสรีพอ ทันสมัยพอ และพยายามไปไล่แบนคนที่ไม่แสดงออกทางการเมืองในช่วงที่กระแสทางการเมืองรุนแรงในช่วงขณะหนึ่ง กลายเป็นความด่างพร่อยของคุณค่าประชาธิปไตยที่ถูกคุกคามโดยบางกลุ่มคนที่ศรัทธาในประชาธิปไตยในแบบของตนมากกว่าที่จะเรียนรู้ความคิดกันและกัน ดังนั้น วัฒนธรรมกดทับที่เข้มข้นอยู่แล้วในสถานศึกษาจึงยิ่งเข้มข้นขึ้นไปอีกในบริบทของการนำเสนอมุมมองการเมืองปัจจุบัน
ตกลงแล้ว หลักการพื้นฐานของประชาธิปไตยฐานรากที่ว่าด้วยการเคารพความหลากหลายทางความคิดและมุ่งหมายที่จะสร้างสังคมที่เป็นอารยะชน เรียนรู้ที่จะก้าวไปข้างหน้า มันยังคงดำเนินอยู่ในเส้นทางนั้นหรือไม่ หรือมันถูกกัดกร่อนมานานจากในระบบโรงเรียน ดังกล่าวโดยการสนับสนุนความคิดหนึ่ง ๆ ว่าเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงและมองข้ามความคิดอื่น ๆ ที่ถูกด้อยค่าว่ามีความเป็นประชาธิปไตยที่น้อยกว่า จนเป็นความพิกลพิการและต้องใช้ความพยายามในการแก้ไขปัญหา ก็คงเป็นเงื่อนงำที่ต้องแก้ปมปัญหานั้นกันต่อไป
โค้งสุดท้ายผู้ว่าฯ 2565 เรื่องต้องรู้ก่อนเข้าคูหา! ‘ส.ก.’ กับ ‘ผู้ว่าฯ’ ต่างกันอย่างไร?
แนวคิดที่จะพาประเทศไทยไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เพื่อความสุขที่ยั่งยืนของคนไทย
วาระเด็ดจาก Queenmaker วิธีลวงตาสาธารณะชน ด้วยการเบี่ยงประเด็น รายละเอียด ที่นี่
ชย
ความจริงของโลกที่ยอมรับได้ยากที่สุด คือ ความจริงที่ขัดต่อความเชื่อของตน