พร้อมหรือไม่ ? ที่ประเทศไทยจะเปลี่ยนระบบการศึกษา
ระบบการศึกษาที่ดี เป็นอะไรที่หลายคนได้ใฝ่ฝัน ตั้งความหวังไว้และมีความต้องการให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจริงและพัฒนามากขึ้น ทว่าอะไรคือระบบการศึกษาที่ดี และการจะทำให้เป็นระบบการศึกษาที่ดีจะต้องมีลักษณะเป็นลักษณะใด รวมทั้งระบบการศึกษาที่ดีที่จะได้รับจะต้องแลกด้วยอะไรจึงจะได้รับและประสบความสำเร็จได้ด้วยดี รวมทั้งสามารถเข้ากับสภาวะสังคมจริงได้หรือไม่ คือ โจทย์สำคัญ
จุดสำคัญของระบบการศึกษาที่ดีแรก ๆ ในการแทนที่ระบบการศึกษาเดิมที่ดำรงอยู่ คือ การทำความเข้าใจกับบริบทสังคมไทยเพื่อรับรู้ปัจจัยการเคลื่อนไหวของผู้คนของสังคมภาพใหญ่และนำไปเป็นข้อมูลสำคัญในการจัดทำระบบใหม่แทนที่ระบบเดิม ซึ่งการละทิ้งกลไกนี้จะทำให้การจัดทำระบบเต็มไปด้วยความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นแต่ขาดข้อมูลจริงและทำให้ระบบการศึกษาใหม่ที่เกิดขึ้นมีสถานะเป็น “วิมานในอากาศ” ที่จับต้องไม่ได้และไม่สามารถเข้าถึงความต้องการของทุกภาคส่วนในระบบการศึกษาได้จริงในระยะยาว
อีกประเด็นสำคัญคือ การจัดทำระบบการศึกษาใหม่จำเป็นที่จะต้องเข้าถึงความต้องการในการเข้าถึงศาสตร์การเรียนรู้ต่าง ๆ โดยอิสระตามความถนัด ควบคู่กับกับหลักวิชาพื้นฐานที่เป็นวิชาบังคับ ขณะเดียวกันก็ต้องเข้าถึงความต้องการของตลาดแรงงานที่จะรองรับผู้ที่จบระบบการศึกษาออกมาและประสานกับศักยภาพของผู้สอนในระบบการศึกษาที่จะปรับเปลี่ยนให้เข้ากันได้ เพื่อให้เมื่อมีระบบเกิดขึ้นใหม่ ผู้สอนก็สามารถปรับตัวและขับเคลื่อนกลไกทางการศึกษาควบคู่กับผู้ศึกษาและตลาดแรงงานร่วมกัน ซึ่งระบบการศึกษาดังกล่าวกำลังจะเกิดขึ้นที่สิงคโปร์ ที่ระบบแต่เดิมก็ถือว่าเป็นระบบที่มีหลากหลายสูงอยู่แล้วจากการแบ่งเป็นกลุ่มปกติและกลุ่มพิเศษในระดับชั้นมัธยมแยกต่างหากทั้งสถานที่และหลักสูตรเพื่อจัดสรรการศึกษาในเข้ากับความต้องการของแต่ละกลุ่มความสามารถโดยตรงและทำให้ระบบการศึกษารูปแบบนี้ประสบความสำเร็จในระดับโลก แต่หลังจากนี้ไม่กี่ปีก็จะมีพัฒนาระบบการศึกษาเข้าสู่ระบบก้อนส่วนหรือโมดูล ที่เป็นการเน้นความถนัดในตัวผู้ศึกษาแต่ละคนให้พัฒนาขีดความสามารถของตนได้เต็มที่ในระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป แทนการแบ่งตามกลุ่มความสามารถเดิม ทั้งนี้ระบบดังกล่าวเกิดขึ้นบนบริบทที่ทั้งคล้ายคลึงและแตกต่างในแต่ละประเทศ
ทั้งนี้ การจัดทำระบบการศึกษาใหม่ก็เป็นการจัดสรรกลไกใหม่ที่อาจมีผู้ที่ได้ประโยชน์และผู้ที่เสียประโยชน์จากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว ดังนั้น จึงต้องมีการทำความเข้าใจในทุกภาคส่วน ทุกกลุ่มความสามารถ ทุกความต้องการหลัก และหาจุดร่วมในการสร้างระบบการศึกษาใหม่ที่จับต้องได้และมีประสิทธิภาพจริง
ทั้งหมดนี้จะนำไปสู่ปุจฉาหนึ่งที่ว่า “ระบบที่ดีทั้งสิ้นทิ้งปวง ใครจะได้รับประโยชน์ ใครจะเสียประโยชน์ และจำเป็นหรือไม่ที่ การจะจัดทำระบบที่ดีจำเป็นต้องได้รับความไว้วางใจหรือฉันทามติจากผู้คนส่วนใหญ่ เพื่อให้เป็นระบบที่ดีที่แท้จริง รวมทั้งระบบใหม่ที่จะเกิดขึ้นจะสามารถเข้ากับบริบทสังคมไทยร่วมกันได้หรือไม่ หรือจะต้องปรับบริบทสังคมไทยในภายหลังด้วย” ได้กลายเป็นคำถามที่รอคอยผลลัพธ์กันต่อไป
ถึงเวลาต้องสางปัญหาระบบราชการ การเมืองกับสื่อออนไลน์ที่มีอิทธิพลมากขึ้น และขบวนการปลุกปั่นล้มระบอบที่ย่ามใจ บนความเพิกเฉยของภาครัฐ
หนึ่งในวิธีการกำกับดูแลและบริหารจัดการน้ำมันของไทยก็คือการตั้ง “กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง”
ไทยเป็นอันดับ 9 จากการวัดค่าความพร้อมด้านการขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าทั่วโลก (Global Electric Mobility Readiness Index-GEMRIX) ปี 2022
ชย
ความจริงของโลกที่ยอมรับได้ยากที่สุด คือ ความจริงที่ขัดต่อความเชื่อของตน