ธรรมเนียมยืนเคารพ เพลงสรรเสริญพระบารมี มีที่มาจากไหน? ใครริเริ่ม? ไม่ยืนผิดไหม?
ทุกคนที่เคยไปชมภาพยนตร์ การแสดงดนตรี งานมหรสพ หรือกิจกรรมต่าง ๆ ต้องเคยผ่านการยืนแสดงความเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมีกันมาทุกคน แต่ในยุคปัจจุบัน ที่มีการตั้งคำถามเกี่ยวกับประเด็นทางสังคม วัฒนธรรม และการเมืองต่าง ๆ มากขึ้น เราก็จะเริ่มเห็นคนที่ตั้งคำถามเกี่ยวกับธรรมเนียมการยืนแสดงความเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมี บางคนอาจจะตัดสินใจเลือกที่จะไม่ยืนไปเลย ซึ่งก็ทำให้เกิดการถกเถียงต่าง ๆ มากมาย ในคลิปนี้เราจะมาทำความเข้าใจและหาคำตอบกันว่า ที่มาที่ไปของธรรมเนียมนี้นั้นมาจากไหน? ใครเป็นผู้ริเริ่มในประเทศไทย? และถ้าเราเลือกที่จะไม่ยืน จะเป็นการผิดกฎหมายบ้านเมืองหรือไม่? อย่างไรก็ตาม สิ่งที่อยากชวนให้คิดนั้นก็คือ ถ้าไม่เคารพเพลง หรือ ไม่เคารพบุคคลในเพลง ก็ควรจะเคารพสถานที่ เคารพงานที่จัด หรืออย่างน้อยที่สุดก็ควรเคารพในสิทธิ์ของผู้จัดงาน ที่เขาเลือกจะเปิดเพลงสรรเสริญพระบารมี โดยไม่สร้างความวุ่นวายหรือทำลายบรรยากาศในงาน โดยเอาความคิดของตัวเองเป็นที่ตั้ง เพราะนั่นคือมารยาททางสังคมที่ดีที่พึ่งมีเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมไร้ความขัดแย้ง
่ไม่ห่วงค่าไฟแพงเปิดเหตุผลที่นักลงทุนต่างชาติไม่กังวลเรื่องค่าไฟเท่ากับว่าไฟฟ้านั้นผลิตมาจากแหล่งไหน
หนังรักโรแมนติค Soft Power ที่กำลังท้าทายค่านิยม การแต่งงานแบบดั้งเดิมของเกาหลีใต้
ศิราวุธ ภุมมะกสิกร
อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม