ดิจิทัลไทยเจ๋ง! e-Payment อันดับ 3 ของโลก ยอดทำธุรกรรม 9.7 พันล้านครั้ง รองเพียงจีนและอินเดียเท่านั้น
นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยข้อมูลเมื่อวันที่ 20 มิถุนายนที่ผ่านมาว่า จากการสำรวจของ เอซีไอ เวิลด์ไวด์ (ACI Worldwide) ภายใต้ความร่วมมือกับโกลบอลดาต้า (GlobalData) ซึ่งเป็นบริษัทวิเคราะห์ข้อมูลระดับโลก และศูนย์วิจัยทางเศรษฐกิจและธุรกิจ (Centre for Economics and Business Research – CEBR) พบว่า
ในปี 2564 ประเทศไทยมียอดการทำธุรกรรมการชำระเงินแบบเรียลไทม์ 9.7 พันล้านครั้ง ครองอันดับ 3 ของโลก รองจากอินเดีย (48.6 พันล้านครั้ง) และจีน (18.5 พันล้านครั้ง)
สำหรับการขณะทำธุรกรรมการชำระเงินแบบเรียลไทม์ ของไทย มีอัตราที่สูงขึ้นจากเดิมที่ในปี 2563 และ 2562 ตัวเลขอยู่ที่ 5.24 พันล้านครั้ง และ 2.57 พันล้านครั้ง ตามลำดับ
นอกจากนี้โครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินของไทยเป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานโลก อันเป็นผลมาจากการขับเคลื่อนนโยบายการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment) นับตั้งแต่ปี 2558 ผ่านโครงการต่าง ๆ อาทิ
- โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
- โครงการพร้อมเพย์ (Prompt pay) และ QR Payment
- Government Wallet (G-Wallet) ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง ในโครงการคนละครึ่ง เราเที่ยวด้วยกัน ชิมช้อปใช้ การขายสลากดิจิทัล เป็นต้น
รัฐบาลมุ่งมั่นขับเคลื่อนนโยบาย National e-Payment อย่างต่อเนื่อง นอกจากเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและภาคธุรกิจในการทำธุรกรรมทางการเงินและกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ยังเป็นกลไกสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน มีส่วนช่วยในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และอันดับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ (Ease of Doing Business)
“รัฐบาลขอบคุณทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานรัฐ ภาคเอกชน สถาบันการเงิน และธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ได้ร่วมมือกันอย่างเต็มที่ และภาครัฐจะยังคงเดินหน้าขยายงานบริการด้วยระบบ e-Payment ให้ครอบคลุมภารกิจต่างๆ ให้มากขึ้น” นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวปิดท้าย
สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 เชื่อมโยงบึงกาฬ – บอลิคำไซ คืบหน้า 82.550% คาดว่าสามารถเปิดให้บริการได้ภายในปี 2567
Twitter Blue ราคา 8 ดอลลาร์ อีลอน มัสก์ ยืนยันค่าบริการใหม่ทวิตเตอร์ พร้อมเปรยสามารถลงคลิปวีดีโอที่มีความยาวได้ เพื่อนำเงินไปสนับสนุน Content Creator ที่น่าสนใจ
เศรษฐาฟ้องหมิ่นประมาทชูวิทย์ ทนายถาม จงใจให้ข้อมูลไม่ครบถ้วนหรือไม่ ? ชี้ วิธีการเสียภาษี เป็นเรื่องของการวางแผนภาษี ย้อนไปตรวจสอบบริษัทของลูกตัวเองดีกว่า
ศิราวุธ ภุมมะกสิกร
อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม