ญี่ปุ่นชูวัฒนธรรมชาว ‘ไอนุ’ หวังกระตุ้นท่องเที่ยวในฮอกไดโด
ฮิโระคะซุ มัทสึโนะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี กล่าวเมื่อวันอาทิตย์ (8 พ.ค.) ว่า ญี่ปุ่นจะโปรโมทพิพิธภัณฑ์และสวนไอนุแห่งชาติ ฮอกไกโด เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ
มัทสึโนะ เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์และสวนไอนุแห่งชาติ จ.ฮอกไกโด (อุโปะโปย) เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งโฆษกรัฐบาล เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เพื่อประชุมหารือกับผู้ว่าการจังหวัดฮอกไกโด นาโอะมิจิ ซูซูกิ และชาวไอนุ
ระหว่างการประชุม มัทสึโนะได้เน้นย้ำถึงจุดยืนของรัฐบาลในการสนับสนุนชาวไอนุ ในการรักษาขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมของพวกเขาเอาไว้ และเรียก ‘อุโปะโปย’ ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อปี 2020 ว่าเป็น ‘สัญลักษณ์’ ของชนเผ่าไอนุ
พิพิธภัณฑ์และสวนไอนุแห่งชาติ หรือ ‘อุโปะโปย’ (ซึ่งหมายถึง ‘ร้องเพลงกันเป็นกลุ่มใหญ่’ ในภาษาไอนุ) ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 1 แสนตารางเมตร ติดกับทะเลสาบโปโนโตะ ซึ่งประกอบไปด้วยพิพิธภัณฑ์แห่งชาติไอนุ, อุทยานแห่งชาติไอนุ และอนุสรณ์สถานท่ามกลางสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ
สวนสาธารณะในอุโปะโปย มีโถงสำหรับแสดงการร่ายรำแบบดั้งเดิมของไอนุ, กิจกรรมเวิร์คช็อปทำอาหารและเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินชีพ, สตูดิโอสาธิตประดิษฐ์ศิลปหัตถกรรมพื้นเมือง และหมู่บ้านไอนุ
อนุสรณ์สถานในอุโปะโปย เป็นสถานที่ที่ตั้งขึ้นเพื่อแสดงถึงความเคารพดวงวิญญาณอันเป็นที่นับถือของชาวไอนุ และเป็นที่จัดเก็บกระดูกของชาวไอนุ
ชนเผ่าไอนุเป็นชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ทางตอนเหนือของญี่ปุ่นมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ โดยเฉพาะในแถบฮอกไกโด ซึ่งถูกกดขี่เอารัดเอาเปรียบมาเป็นเวลานานจากนโยบายดูดกลืนทางวัฒนธรรมของรัฐบาลญี่ปุ่นในสมัยเมจิ ส่งผลให้พวกเขาประสบปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้และการศึกษาด้วย
นอกจากนี้ ชนเผ่าไอนุยังต้องดิ้นรนเพื่อรักษาวัฒนธรรมของตนจากนโยบายดูดกลืนทางวัฒนธรรมที่ห้ามไม่ให้พวกเขาพูดภาษาไอนุอีกด้วย ทั้งนี้ทางรัฐบาลญี่ปุ่นเพิ่งจะยอมรับชนกลุ่มนี้ว่าเป็น ‘ชนพื้นเมืองที่มีภาษา ศาสนา และวัฒนธรรมเป็นของตัวเอง’ เมื่อปี 2008
ชำระเงินระหว่างประเทศแบบทันที ธปท.ร่วมกับธนาคารกลางของประเทศกลุ่มอาเซียน-5 เข้าร่วมโครงการ ‘Nexus’ ของ BIS
ญี่ปุ่นคิดค้นแมลงสาบไซบอร์ก ช่วยค้นหาผู้รอดชีวิตจากแผ่นดินไหว
ไทย ติดอันดับ 3 Top Countries in the World จาก Condé Nast Traveler Readers’ Choice Awards 2022
ศิราวุธ ภุมมะกสิกร
อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม