ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนยกระดับ ทำราคาน้ำมันขึ้น ย้ำเตือนข้อเท็จจริงที่ว่า ตลาดน้ำมันเปลี่ยนแปลงได้ทุกเมื่อ
ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนยกระดับ ทำราคาน้ำมันขึ้น ย้ำเตือนข้อเท็จจริงที่ว่า ตลาดน้ำมันเปลี่ยนแปลงได้ทุกเมื่อ จากปัจจัยที่ส่งผลกระทบ
หลังจากเหตุการณ์โจมตีสะพานไครเมีย (Crimean Bridge หรือ สะพานข้ามช่องแคบเคียร์ช; Kerch Strait Bridge) ซึ่งส่งผลให้รถไฟขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงของรัสเซียนั้นลุกไหม้เสียหายและบางส่วนของสะพานนั้นถล่มลง ซึ่งแม้ว่าทางยูเครนจะไม่ออกมาแสดงความรับผิดชอบว่าเป็นผู้สั่งการ ฝ่ายรัสเซียก็ได้เปิดฉากตอบโต้เหตุการณ์นี้ด้วยการยิงขีปนาวุธโจมตีพื้นที่หลายแห่งในยูเครน ซึ่งหลายสำนักข่าวนั้นชี้ให้เห็นว่า “เป็นการโจมตีครั้งใหญ่ที่สุดนับจากช่วงแรก ๆ ที่สงครามเปิดฉากขึ้น”
ถ้าเราพิจารณาถึงการเรียกระดมกำลังพลของรัสเซียในช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมาร่วมไปด้วย รายงานข่าวนี้เป็นสัญญาณให้เห็นถึงการยกระดับและการเปิดฉากความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย – ยูเครนระลอกใหม่ โดยพัฒนาการหลาย ๆ อย่างของวิกฤตการณ์ในครั้งนี้นั้นเกิดผลกระทบในหลายประเด็นและกระทบต่อหลายฝ่าย ไม่ใช่เพียงแต่ประเทศคู่ขัดแย้งและประเทศใกล้เคียงในทวีปยุโรปเท่านั้น แต่ยังรวมถึงประเทศอื่น ๆ ที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงด้วย โดยเฉพาะถ้าเรากล่าวถึงผลกระทบด้านพลังงาน เนื่องจากสถานะของประเทศรัสเซียในการเป็นผู้ส่งออกพลังงานเจ้าใหญ่ที่สุดเจ้าหนึ่งของโลก
เช่นเดียวกับตั้งแต่เมื่อวิกฤตการณ์ความขัดแย้งนี้ได้เริ่มต้นขึ้น เหตุการณ์การโจมตียูเครนของรัสเซียในครั้งนี้ทำให้ราคาพลังงานสูงขึ้น ถือเป็นเครื่องย้ำเตือนให้เราเห็นถึงปัจจัยต่าง ๆ มากมายที่ส่งผลกระทบต่อตลาดพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต่อราคาน้ำมัน ที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่มีความละเอียดอ่อน
โดยปัจจัยอื่น ๆ ที่จะส่งผลต่อราคาน้ำมันในช่วงสัปดาห์ที่จะถึงนี้ก็รวมถึง
– มติลดการผลิตน้ำมันดิบ 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในเดือน พ.ย. 65 ของที่ประชุมคณะกรรมการร่วมระดับกระทรวงของกลุ่ม OPEC และพันธมิตร
– การปิดซ่อมบำรุงแหล่งผลิตน้ำมัน Bonga ของบริษัท Shell Nigeria
– บริษัทน้ำมันแห่งชาติของซาอุดีอาระเบีย (Saudi Aramco) ประกาศราคาขายน้ำมันดิบคงที่ สวนทางจากที่ตลาดคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
– กระทรวงน้ำมันของอิรักรายงานปริมาณส่งออกน้ำมันดิบในเดือนกันยายน ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จาก 3.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขึ้นเป็น 6 ล้านบาร์เรลต่อวัน
เป็นต้น
ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าปัจจัยต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาเหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านพลังงานและต่อราคาน้ำมัน เป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของรัฐบาลและระบบเศรษฐกิจของไทยเราอย่างสิ้นเชิง ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในหลายประเทศที่ อยู่ในจุดที่เป็นผู้รอรับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอด
การเปลี่ยนแปลงไปของปัจจัยต่าง ๆ นั้นเองที่เป็นสิ่งกำหนดความเป็นไปในประเด็นด้านพลังงาน โดยแต่ละประเทศนั้นก็มีความจำเป็นที่จะต้องรับมือกับความเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นตามขีดความสามารถและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ตนเองมี จากความร่วมมือของภาครัฐและเอกชน อย่างเช่น “กองทุนน้ำมัน” ก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือของประเทศไทยที่ใช้ช่วยแก้ปัญหาความเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันที่อาจเกิดขึ้นอย่างกะทันหันในตลาดโลก
เพราะราคาน้ำมันนั้นไม่สามารถควบคุมได้อย่างสมบูรณ์ เพราะน้ำมันและผลิตภัณฑ์และสินค้าทุก ๆ อย่างในระบบเศรษฐกิจของโลกนั้น มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกันทั้งหมด
ข้อตกลงการค้าสหรัฐ-ไต้หวัน สหรัฐฯ และไต้หวัน บรรลุข้อตกลงการค้า ในส่วนแรกของ ‘แผนการค้าศตวรรษที่ 21′
มาแล้ว FTA ครั้งประวัติศาสตร์ ไทยบรรลุข้อตกลงการค้าเสรีร่วมกับเอมิเรตส์ ใน 3 เดือน อาจควบสิทธิปลอดภาษีในซาอุ คูเวต โอมาน กาตาร์ และบาห์เรน ไทยเตรียมตัว ตีตลาดตะวันออกกลาง มูลค่าสูงกว่า 7 แสนล้าน
เมียนมาแห่ซื้ออสังหาไทย ย้ายทุนหนีความขัดแย้งในประเทศ ช่วยประคองตลาดอสังหาฯ ไทย ‘Sen X’ มียอดขายจากลูกค้าชาวเมียนมา 100 ล้าน ‘อนันดา’ ชี้เป็นความต้องการชั่วคราว
ศิราวุธ ภุมมะกสิกร
อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม