Articles“การยึดอำนาจ” จากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่ ”ไม่เคยเกิดขึ้นจริง”

“การยึดอำนาจ” จากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่ ”ไม่เคยเกิดขึ้นจริง”

สิ่งหนึ่งที่หลายคนเข้าใจผิดอย่างมากเกี่ยวกับการรัฐประหาร พ.ศ. 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คือเข้าใจว่ารัฐบาลที่ถูกล้ม คือรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งความจริงแล้วไม่ถูกต้องเลย เพราะคุณยิ่งลักษณ์นั้นถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้สิ้นสภาพนายกรัฐมนตรี ตามคำพิจารณาที่ 9/2557 ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 แล้ว

ดังนั้น รัฐบาลที่ถูกล้ม คือรัฐบาลของนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล นายกรัฐมนตรีรักษาการณ์แทนคุณยิ่งลักษณ์ที่พ้นจากตำแหน่งไปแล้วต่างหาก

และเหตุผลหลักที่ทำให้ คสช. จำเป็นต้องก้าวเข้ามานั้น เหตุเนื่องด้วยคณะรัฐบาลชั่วคราวของนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล และคณะรัฐมนตรีรักษาการณ์นั้น “ไม่มีความสามารถ” ที่จะรับมือกับสภาวะความไม่สงบภายในประเทศที่เกิดขึ้นระหว่างกลุ่มประชาชนผู้เห็นด้วย และไม่เห็นด้วยกับ “ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน”

กระแสความเห็นที่แตกแยก เกิดขึ้นไปทั่วแม้ในกลุ่มผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทยเองก็มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย และความแตกแยกนี้กลายเป็นตัวจุดประเด็นสร้างความร้าวฉานในวงกว้าง และบานปลายจนกลายเป็นการเผชิญหน้ากับของฝูงชน 2 กลุ่มคือ “แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช.” ซึ่งเป็นฝ่ายเห็นด้วย และ “คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ กปปส.” ซึ่งเป็นฝ่ายไม่เห็นด้วย

ก่อนที่ทุกอย่างจะบานปลายจนกลายเป็นสงครามกลางเมืองระหว่างประชาชน โดยที่รัฐบาลรักษาการณ์ของนายนิวัฒน์ธำรงทำได้เพียงนั่งดูนั้น พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น ได้ประกาศกฎอัยการศึกในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 โดยในการนั้น พลเอกประยุทธ์เพียงจัดตั้ง “กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ” เพื่อควบคุมสถานการณ์ และควบคุมตัวแกนนำทั้ง 7 ฝ่ายเข้าหารือร่วมกัน เพื่อหาทางออกให้ประเทศอย่างสงบ

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากทั้ง 7 ฝ่ายนั้น ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกันได้ ยังคงความขัดแย้งที่ไม่มีทีท่าว่าจะจบ พลเอกประยุทธ์ จันทรโอชา ผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ จึงประกาศ “ยึดอำนาจ” จัดตั้ง “คณะรักษาความสงบแห่งชาติ” ขึ้นบริหารประเทศแทนรัฐบาลรักษาการณ์ของนายนิวัฒน์ธำรงในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

สำหรับนายนิวัฒน์ธำรง ซึ่งในวันนั้นมิได้เข้าร่วมการประชุม พยายามหลบหนีเพื่อตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นที่สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา แต่ถูกปฏิเสธ จึงต้องเข้ามารายงานตัวต่อ คสช. ในวันถัดมา

ไม่ว่าใครจะเห็นด้วยกับวิธีการของพลเอกประยุทธ์ในวันนั้นหรือไม่ก็ตาม แต่ คสช. ถือว่าบรรลุวัตถุประสงค์หลักของตัวมันเองได้เป็นอย่างดีในการธำรงรักษาเอาไว้ซึ่ง “ความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ” ตลอดระยะเวลา 5 ปี ยุติความขัดแย้งในชาติบ้านเมือง ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่รัฐบาลรักษาการณ์ของนายนิวัฒน์ธำรงนั้นมิสามารถกระทำ

อ้างอิง :

[1] ราชกิจจานุเบกษา 10 กันยายน 2557, “คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ประธานวุฒิสภาส่งคำร้องของสมาชิกวุฒิสภาเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๘๒ วรรคหนึ่ง (๗) ประกอบมาตรา ๒๖๘ และมาตรา ๒๖๖ (๒) และ (๓)หรือไม่”

[2] ครม.ตั้ง”นิวัฒน์ธำรง”รักษาการนายกฯ แทน”ปู”

[3] ‘นิวัฒน์ธำรง’ อ้าง กฎหมายตั้งรัฐบาลเฉพาะกิจไม่ได้

[4] นิรโทษกรรม “สุดซอย” หายนะ “เพื่อไทย” ลุงกำนัน ปั่นม็อบลุกฮือ ขับไล่ยิ่งลักษณ์

[5] ทูตสหรัฐฯ ยันข่าวลือนิวัฒน์ธำรงตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น

[6] ‘นิวัฒน์ธำรง-สมชาย-ปู’ เข้ารายงานตัวแล้ว

[7] ‘นิวัฒน์ธำรง’อ้าง ผิดกฎหมาย ยัน รัฐบาลไม่ลาออก

ความจริงของโลกที่ยอมรับได้ยากที่สุด คือ ความจริงที่ขัดต่อความเชื่อของตน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า